Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2410
Title: INFLUENCES OF ATTITUDE FACTORS AND ELECTRONIC SERVICE QUALITY PERCEPTION TOWARD THE USAGE  BEHAVIOR OF "THE ONE" APPLICATION
อิทธิพลของปัจจัยด้านทัศนคติและการรับรู้คุณภาพบริการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน "เดอะวัน"
Authors: CHANANYA THONGTHAWAT
ชนัญญา ทองธวัช
Tanapoom Ativetin
ธนภูมิ อติเวทิน
Srinakharinwirot University
Tanapoom Ativetin
ธนภูมิ อติเวทิน
tanapoom@swu.ac.th
tanapoom@swu.ac.th
Keywords: ทัศนคติ
การรับรู้คุณภาพบริการบริการอิเล็กทรอนิกส์
พฤติกรรมการใช้งาน
แอปพลิเคชัน "เดอะวัน"
Attitude factors
Electronic service quality
Perception
Behavior
‘the One’ application
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research aimed to study the influences of attitude factors and electronic service quality perception on usage behavior of ‘the One’ application. The sample in this research were 400 people that used ‘the One’ application in six months and were at least 21 years old. The statistics used to analyze data were percentage, mean and standard deviation for hypothesis testing. The statistical methods included a t-test, One-Way ANOVA and Multiple Regression. The results showed that the majority of respondents were female, aged between 31-40, married, company employees, with an average monthly income of THB 35,001-45,000, and most activities were carried out with ‘the One’ application. In terms of tracking general information, the test results had a statistically significant value of 0.05. The results were as follows: (1) how often users of different genders used ‘the One’ application; (2) users with age, status and income. The frequency of using the application to track the news. The frequency of accumulating or redeeming points each month was different; (3) Users with occupations. The frequency of accumulating or redeeming points each month was different (4) users were active with ‘the One’ application. The behavior of using the one application is different from the frequency of accessing the one application tracking. The   use of each application is different; (5) the attitude factors included feelings. The Influence of behavior of using ‘the One’ application. The frequency of accessing ‘the One’ application to track news can be predicted at 2.3%, and 3.1% can be predicted as the frequency of monthly accumulation or exchange of points;  (6) the awareness factors of electronic service quality included efficiency and privacy and Influencing behavior using ‘the One’ application. The frequency of access of ‘the One’ to track news could be predicted 6.8%; (7) the electronic service quality awareness factors, included privacy, and affected the behavior of ‘the One’ application. The usage time for each application could be predicted by 6.4%.
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของปัจจัยด้านทัศนคติและการรับรู้คุณภาพบริการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้งานที่เคยดาวน์โหลดและใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน ในรอบ 6 เดือน ที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์แบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีสถานภาพสมรส แล้วประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,001 - 45,000 บาท และมีกิจกรรมที่ทำผ่านแอปพลิเคชันเดอะวันมากที่สุดคือ การติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไป ผลการทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่า (1).ผู้ใช้งานที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน ด้านความถี่ในการเข้าแอปพลิเคชันเดอะวันเพื่อติดตามข่าวสาร ด้านความถี่ในการสะสมหรือแลกคะแนนต่อเดือน แตกต่างกัน  (2).ผู้ใช้งานที่มีอายุ สถานภาพ รายได้ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวันด้านความถี่ในการเข้าแอปพลิเคชันเดอะวันเพื่อติดตามข่าวสาร  ด้านความถี่ในการสะสมหรือแลกคะแนนต่อเดือน ด้านจำนวนเวลาในการใช้งานแอปพลิเคชันต่อครั้งแตกต่างกัน (3).ผู้ใช้งานที่มีอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวันด้านความถี่ในการสะสมหรือแลกคะแนนต่อเดือนแตกต่างกัน (4).ผู้ใช้งานที่มีกิจกรรมที่ทำผ่านแอปพลิเคชันเดอะวัน แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน ด้านความถี่ในการเข้าแอปพลิเคชันเดอะวันเพื่อติดตามข่าวสาร ด้านจำนวนเวลาในการใช้งานแอปพลิเคชันต่อครั้ง แตกต่างกัน (5).ปัจจัยด้านทัศนคติ ประกอบด้วย ด้านความรู้สึก มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน ด้านความถี่ในการเข้าแอปพลิเคชันเดอะวันเพื่อติดตามข่าวสาร สามารถทำนายได้ร้อยละ 2.3  และด้านความถี่ในการสะสมหรือแลกคะแนนต่อเดือนสามารถทำนายได้ร้อยละ 3.1 (6).ปัจจัยด้านการรับรู้คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ด้านประสิทธิภาพ และด้านความเป็นส่วนตัว มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน ด้านความถี่ในการเข้าแอปพลิเคชันเดอะวันเพื่อติดตามข่าวสาร สามารถทำนายได้ร้อยละ 6.8 (7).ปัจจัยด้านการรับรู้คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ด้านความเป็นส่วนตัว มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันเดอะวัน ด้านจำนวนเวลาในการใช้งานแอปพลิเคชันต่อครั้ง สามารถทำนายได้ร้อยละ 6.4
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2410
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130058.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.