Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2386
Title: GUIDELINES FOR SUSTAINABLE TOURISM MANAGEMENT OF OH POI MARKET, RATCHABURI PROVINCE
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดวิถีชุมชนโอ๊ะป่อย จังหวัดราชบุรี
Authors: BUSARAKHUM KLANNAMTHIP
บุษราคัม กลั่นน้ำทิพย์
Unchun Tuntates
อัญชัญ ตัณฑเทศ
Srinakharinwirot University
Unchun Tuntates
อัญชัญ ตัณฑเทศ
unchun@swu.ac.th
unchun@swu.ac.th
Keywords: แนวทางการจัดการ
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ตลาดวิถีชุมชนโอ๊ะป่อย
Management guidelines
Sustainable tourism
Oh Poi market
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are as follows: (1) to study the context of the area and study the community-base tourism management of Oh Poi market; (2) to study tourist opinions on the composition of tourist attractions, and the satisfaction of tourists; and (3) to suggest guidelines for sustainable tourism management in Oh Poi market in Ratchaburi Province. This study used mixed methods research. The research tools were questionnaires collected from 385 tourists and semi-structured interviews. The key informants were nine stakeholders who related to the management of Oh Poi market, The results showed that Oh Poi market established the concept of sustainability by bringing the strengths of abundant nature combined with their culture and the way of life of the Thai-Karan people. Moreover, the market was also established by cooperation of many sectors. The products were community products and the local food of the Karen people. There was a management system to maintain the quality and service to meet the standards consistently based on the concept of Zero Waste by refraining from using foam and plastic. Furthermore, there was an encouragement of tourists to learn and be aware of environmental conservation and instill faith in Buddhism through activities. Overall, the results showed that tourists agreed with the attraction component at the highest level (x̄ = 4.44, S.D. = 0.51) and were satisfied with the service environment at the highest level (x̄ = 4.52, S.D. = 0.51) As for sustainable tourism management, it was found that they should continue and propagate the local arts and culture of the Karen people through continuous tourism activities. It should promote basic skills for everyone in the community and develop public relation materials in foreign languages and promote solid waste management to achieve sustainable management at the Oh Poi market.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่และศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตลาดโอ๊ะป่อย 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อแหล่งท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตลาดวิถีชุมชนโอ๊ะป่อย รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยมีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามนักท่องเที่ยว จำนวน 385 คน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่งทำการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวของตลาดโอ๊ะป่อย จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า ตลาดโอ๊ะป่อยเกิดจากอุดมการณ์และแนวคิดความยั่งยืน โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติมาผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตลาดโอ๊ะป่อยเกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน สินค้าที่จำหน่ายจะเป็นสินค้าชุมชนและอาหารพื้นถิ่นของชาวกะเหรี่ยง มีการจัดการรักษาคุณภาพและบริการให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้แนวคิดลดขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) โดยการงดใช้โฟมและพลาสติก สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกฝังความศรัทธาต่อพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมการตักบาตรพระล่องแพ โดยภาพรวม พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบด้านสิ่งดึงดูดใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.44, S.D. = 0.51) และมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมบริการในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52, S.D. = 0.51) ด้านแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พบว่า ควรสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผ่านกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมทักษะพื้นฐานให้กับคนในชุมชน พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ในภาษาต่างประเทศ และส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อให้เกิดการจัดการตลาดโอ๊ะป่อยสู่ความยั่งยืนต่อไป
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2386
Appears in Collections:Faculty of Environmental Culture and Ecotourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641110074.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.