Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2384
Title: | GUIDELINES OF OUTBOUND TOUR MANAGEMENTFOR TRANSGENDER TOURISTS แนวทางการจัดนำเที่ยวต่างประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศ(Transgender) |
Authors: | VIRAPHONG CHONSINTH วิระพงศ์ ชลสินธุ์ Kingkanok Saowapawong กิ่งกนก เสาวภาวงศ์ Srinakharinwirot University Kingkanok Saowapawong กิ่งกนก เสาวภาวงศ์ kingkanok@swu.ac.th kingkanok@swu.ac.th |
Keywords: | ธุรกิจนำเที่ยว การจัดนำเที่ยวต่างประเทศ นักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศ ความหลากหลายทางเพศ Travel agency Outbound tour management Transgender tourists LGBT |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research aims to study the demand of outbound tours for transgender tourists and to develop guidelines for organizing outbound tours for transgender tourists. This research is a combination of quantitative and qualitative research methods. The sample was transgender tourists, both female to male (FTM) and male to female (MTF), aged 18 years above and divided into two equal groups of 70, and a total of 140 people. The elements of information on organizing outbound tours information on tourism business standards and additional opinions on transgender tourists. The results were analyzed statistically by means, percentage, standard deviation, and a t-test classified by individual factors. One-way analysis of variance was performed with a value test (f-test) and classified by individual factors when differences were found by LSD test. The qualitative data were analyzed by semi-structured in-depth interviews with three experts from relevant agencies and group meetings were held and with seven relevant experts. The results showed that when Thai transgender tourists travelled abroad, most of them traveled for relaxation represention at 23.10%. The main purpose of choosing to travel with a travel agency to recommend travel representing 20.40% and wanted to travel abroad in Europe and accounted for 24.30%. In terms of transgender tourists of different genders and income, there were a significant difference in demand for components of foreign tour arrangements at a .05 level (t = -2.65, p = 0.009) and (f = 2.555, p = 0.030) respectively. The work was at the highest level. The total mean is (x̅= 4.36). From the in-depth interviews and small group meetings, it was found that transgender tourists wanted clear guidelines under “TRANS” which consisted of travel facilitation of transgender tourists. They wanted guidelines on tourism Facilitation: Rightness and respect for rights and equality, Accurate and accuracy in rules and documentation understanding the basic needs of transgender people and Safety and service providing safe services both physically and mentally. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการท่องเที่ยวต่างประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศ และเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดนำเที่ยวต่างประเทศสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศ โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวคนข้ามเพศทั้งผู้ชายข้ามเพศและผู้หญิงข้ามเพศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 140 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 70 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูลวิจัยคือ แบบสอบถาม นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการทดสอบค่า (f-test) และจำแนกความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ตามปัจจัยส่วนบุคคลเมื่อพบความแตกต่าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน และมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่วนใหญ่ต้องการไปท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน คิดเป็นร้อยละ 23.10 มีวัตถุประสงค์หลักในการเลือกที่จะเดินทางกับบริษัทนำเที่ยวเพื่อแนะนำการเดินทางท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 20.40 และต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศโซนยุโรปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.30 จากการทดสอบสมมติฐานโดยการเปรียบเทียบรายคู่พบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความต้องการองค์ประกอบของการจัดนำเที่ยวต่างประเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -2.65, p = 0.009) และ (f = 2.555, p = 0.030) ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการจัดนำเที่ยวต่างประเทศโดยบริษัทนำเที่ยวมีมาตรฐานในการดำเนินงานอยู่ในระดับที่มากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ (x̅ = 4.36) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมกลุ่มย่อยพบว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มคนข้ามเพศต้องการให้มีแนวทางภายใต้คำว่า "TRANS" ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว การเคารพในสิทธิและเท่าเทียมกัน ความแม่นยำในกฎและเอกสาร ความเข้าใจความต้องการพื้นฐานของกลุ่มคนข้ามเพศ และการให้บริการที่ปลอดภัยทั้งร่ายกายและจิตใจ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2384 |
Appears in Collections: | Faculty of Environmental Culture and Ecotourism |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130207.pdf | 9.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.