Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2370
Title: REVEALED COMPARATIVE ADVANTAGE ANALYSIS IN EXPORTING CREATIVE ECONOMY GOODS BETWEEN THAILAND AND FOREIGN COUNTRY
การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระหว่างประเทศไทยกับต่างชาติ
Authors: VISION JUNURAIRAT
วิฉันท์ จันอุไรรัตน์
Nantarat Taugvitoontham
นันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรม
Srinakharinwirot University
Nantarat Taugvitoontham
นันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรม
nantaratt@swu.ac.th
nantaratt@swu.ac.th
Keywords: เศรษฐกิจสร้างสรรค์
สินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ
Creative economy
Creative goods
Revealed comparative advantage
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Creative industry is a noticeable sector that is growing continuously and can create economic opportunities in international trade from the higher growth rate of the exported and imported value of creative economy products in the world. According to the information, the creative industries of ASEAN countries are among the groups that have the opportunity to develop and grow. Therefore, the researcher conducted a study by comparing the competitiveness of the creative industries of Thailand with other ASEAN countries by using the revealed comparative advantage index. The analysis was divided into two parts: a comparison of all creative goods exports in the world market and a comparison of creative goods each group in potential markets. The results of the study in first part found that the countries with the highest comparative advantage of creative goods in 2020 were Cambodia, followed by Vietnam and Malaysia respectively, while Thailand did not have a comparative advantage in exporting all creative economy goods in the world market, because RCA is less than one and it gradually and continuously decreasing. In 2020, the RCA value of Thailand was ranked 6th among ASEAN countries. The results in the second part found that Thailand had an advantage in exporting creative goods in America, England, Hong Kong, Germany and France. By looking at the groups of creative goods, it was found that in the America market, Thailand has an advantage in design (CER004). In the UK market, it had an advantage in design (CER004) and new media (CER005). In the Hong Kong market, it had an advantage in design (CER004) and publishing (CER007). In the German market, it had an advantage in design (CER004), new media (CER005) and performing arts (CER006). Finally, the French market had an advantage in art and craft (CER002), design (CER004) and new media (CER005). Finally, this paper recommends that the government may create and use policies to subsidize and support creative economies in the future.
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นภาคส่วนเศรษฐกิจที่น่าสนใจรวมไปถึงมีทิศทางและแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่องสามารสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจทางการค้าระหว่างประเทศจากอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกนำเข้าสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของโลกที่สูงขึ้น จากข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศในอาเซียนนั้นอยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสในการพัฒนาและเติบโต ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาโดยเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยใช้เครื่องมือดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏมาใช้ในการวิเคราะห์โดยแบ่งเป็นการวิเคราะห์ออกเป็นสองส่วนคือการเปรียบเทียบการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยรวมในตลาดโลกและการเปรียบเทียบสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แต่ละประเภทในตลาดที่มีศักยภาพ ผลการศึกษาในส่วนที่ 1 พบว่าประเทศที่มีความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยรวมมากที่สุดในปี 2020 คือกัมพูชา รองลงมาคือเวียดนาม และมาเลเซีย ตามลำดับ โดยประเทศไทยนั้นไม่มีความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์เลยในตลาดโลกสังเกตได้จากค่า RCA ที่มีค่าน้อยกว่า 1 และแนวโน้มค่า RCA ค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2020 ประเทศไทยมีค่า RCA อยู่อันดับ 6 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่วนผลการศึกษาในส่วนที่ 2 พบว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบในการส่งออก All creative goods ในตลาดอเมริกา อังกฤษ ฮ่องกง เยอรมนีและฝรั่งเศส และหากดูตามรายประเภทสินค้าจะพบว่าในตลาดอเมริกาไทยได้เปรียบในสินค้าประเภท Design (CER004) ตลาดอังกฤษมีความได้เปรียบในสินค้าประเภท Design (CER004) และ  New media (CER005) ตลาดฮ่องกงมีความได้เปรียบสินค้าประเภท Design (CER004) และ Publishing (CER007) ตลาดเยอรมนีมีความได้เปรียบในสินค้าประเภทDesign (CER004) New media (CER005) และ Preforming arts (CER006) และตลาดฝรั่งเศสมีความได้เปรียบในสินค้าประเภท ประเภท Art craft (CER002) Design (CER004) และ New media (CER005) สุดท้ายคืองานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการสรุปข้อเสนอแนะไว้ซึ่งภาครัฐอาจนำไปใช้เพื่อประกอบการในการออกนโยบายที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อไปได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2370
Appears in Collections:Faculty of Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130546.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.