Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2360
Title: A COMPARATIVE STUDY OF THE CLEANING EFFICIENCY OF TWO SILICONE MOUTH SWABS ON  FOOD DEBRIS REMOVAL : IN VITRO
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของซิลิโคนทำความสะอาดช่องปากสองชนิดในการกำจัดคราบอาหาร : ในห้องปฏิบัติการ 
Authors: THUSSAPON PUNJAD
ธัจสะพณ ปั้นจาด
Bhornsawan Thanathornwong
พรสวรรค์ ธนธรวงศ์
Srinakharinwirot University
Bhornsawan Thanathornwong
พรสวรรค์ ธนธรวงศ์
pornsawa@swu.ac.th
pornsawa@swu.ac.th
Keywords: อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก
ผู้สูงอายุ
ทันตกรรมผู้สูงอายุ
0ral cleanser
Adult
Geriatric dentistry
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this study is to evaluate the cleaning efficiency of two silicone mouth swab heads to remove food debris in vitro. The methods were as follows: a silicone pad covered with purple and extremely stick food was prepared as food debris deposits on a tissue surface simulation. The two silicone mouth swab groups were MC 3 silicone head (control group) and SWU prototype silicone head (test group) each assembled was one silicone head with a tooth brushing machine V.P.2000 at 75 round/minute force 2.45 N and surface brushing 25 times. After brushing, photos were taken, and the area of food debris removal was measured by using the ImageJ software. The data were calculated the ratio for food debris removal of two silicone mouth swab heads and then analyzed by Shapiro-Wilk's W test and an independent sample t-test. The results were as follows: the means of ratio for food debris removal of silicone mouth swab heads MC 3 and SWU prototype were 0.82±0.07 and 0.83±0.12 mm2, respectively. No significant differences were only recorded between the values of silicone mouth swab heads MC 3 and SWU prototype (p-value<0.05). In conclusion, the silicone mouth swabs MC 3 and SWU prototype were not differently effective at removing food debris in vitro.
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของหัวซิลิโคนทำความสะอาดช่องปากที่มีเครื่องหมายการค้า MC 3 กับหัวซิลิโคนทำความสะอาดช่องปากต้นแบบ มศว โดยทดสอบในห้องปฏิบัติการ วิธีการดำเนินงานวิจัย:เตรียมพื้นผิวแผ่นซิลิโคนเพื่อจำลองสภาพเยื่อบุช่องปากขณะมีอาหารสะสมบริเวณกระพุ้งแก้มด้วยการนำคราบอาหารที่มีลักษณะข้นมากสีม่วงเข้มมาเคลือบบริเวณพื้นผิวหนา 3.0 มิลลิเมตร ในการศึกษานี้ใช้หัวซิลิโคนทำความสะอาดช่องปากที่มีเครื่องหมายการค้า MC 3 (กลุ่มควบคุม) และต้นแบบของ มศว (กลุ่มทดลอง) โดยนำหัวซิลิโคนต่อประกอบเข้ากับเครื่องแปรงฟัน V.P.2000  ตั้งค่าให้เครื่องแปรงฟันทำการแปรงบริเวณพื้นผิวคราบอาหารจำลอง ลักษณะหัวซิลิโคนจะเคลื่อนที่ไปและกลับด้วยความเร็ว 75 รอบต่อนาที โดยหัวซิลิโคนสัมผัสพื้นผิวขณะแปรงไปและกลับรวม 25 รอบ ด้วยขนาดแรงกด 2.45 นิวตัน ทำการทดสอบกลุ่มละ 21 ครั้ง จากนั้นถ่ายภาพพื้นผิวแผ่นซิลิโคนหลังทดสอบทุกครั้งแล้วหาขนาดพื้นที่บริเวณที่คราบอาหารถูกกำจัดไปด้วยโปรแกรม ImageJและวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลการคำนวณเทียบสัดส่วนขนาดพื้นที่ที่คราบอาหารถูกกำจัดออกไปด้วยหัวซิลิโคน MC 3 และต้นแบบต่อขนาดพื้นที่ที่กำจัดคราบอาหารออกไปได้สูงสุดโดยหัวซิลิโคนชนิดเดียวกันด้วยสถิติ  Shapiro-Wilk's W test และ Independent sample t test  ผลการศึกษา:ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของขนาดพื้นที่ที่คราบอาหารถูกกำจัดออกไปด้วยหัวซิลิโคน MC 3 และต้นแบบเท่ากับ 0.82±0.07และ 0.83±0.12 ตารางมิลลิเมตร ตามลำดับ และแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างหัวซิลิโคนทำความสะอาดช่องปาก MC 3 และต้นแบบ (p-value<0.05) สรุปผลการวิจัย : ซิลิโคนทำความสะอาดช่องปากที่มีเครื่องหมายการค้า MC 3 และต้นแบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบอาหารแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2360
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641110129.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.