Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2343
Title: THEATER FOR DEVELOPMENT: IMPROVING THE COMMUNICATION SKILLS OF MEDICAL STUDENTS
กิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์
Authors: PIMRAPAT PRUEKSAPITAK
พิมพ์รภัส พฤกษพิทักษ์
Noppadol Inchan
นพดล อินทร์จันทร์
Srinakharinwirot University
Noppadol Inchan
นพดล อินทร์จันทร์
noppadoli@swu.ac.th
noppadoli@swu.ac.th
Keywords: กิจกรรมละคร
ทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์
การสื่อสารแบบเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
Creative Drama Activity
Communication Skills Medical Students
Empathy Communication Skills
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is to develop a set of creative drama activities for enhancing medical students’ communication skills with patients, and to compare the result, before and after the students have participated in the activity. A population of 22 first-year medical students attending Srinakharinwirot University were purposively chosen to attend this activity. This research consists of two parts: (1) developing a set of creative drama activities; and; (2) to assess the effectiveness of the activities, using the observatory assessment test to improve the communication skills of the participants before and after attending the activity.  According to the study, (1) the researcher developed a set of creative drama activities to enhance communication skills of medical students by applying the SMCR Model Communication and Cognitive Learning Theory, combined with Creative Drama Practices. The activities were divided into two parts: to develop empathy skills and developing public-speaking skills. The activity set consists of six sessions. The duration of each session is two hours. For Session 1 to Session 3, participants learned about basics of the drama process. From session 4 to session 6, the researcher applied the drama process in a medical context; (2) according to the assessment test, communication skills scores of the medical students after participating in the two-day activity are higher in every area, other than the scores before participating, and the improvement of the scores was statistically significant at 0.01.
จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือการพัฒนาชุดกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์และศึกษาผลของการใช้กิจกรรมละครก่อนและหลังทำกิจกรรม โดยอาสาสมัครการวิจัยนี้เป็นนิสิตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 22 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์ก่อนและหลังทำกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์ ออกแบบโดยยึดหลักทฤษฎีการสื่อสารและทฤษฎีการเรียนรู้ผสมผสานร่วมกับกระบวนการการฝึกปฏิบัติด้านละคร โดยแบ่งเป็นการพัฒนาทักษะการเข้าอกเข้าใจผู้อื่นและพัฒนาการสื่อสารในที่สาธารณะ ทั้งนี้กิจกรรมทั้งหมดกำหนดเวลาเป็น 6 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ถึง 3 เป็นการฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างพื้นฐานตามกระบวนการทางละคร ครั้งที่ 4 ถึง 6 เป็นการนำกระบวนการทางละครไประยุกต์ใช้สำหรับด้านการแพทย์โดยเฉพาะ ระยะเวลาการทำกิจกรรมครั้งละ 2 ชั่วโมง 2) ผลของการทำกิจกรรมละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตแพทย์ก่อนและหลังทำกิจกรรม พบว่า จากการประเมินทักษะการสื่อสารของอาสาสมัครที่เป็นนิสิตแพทย์ก่อนและหลังทำกิจกรรมมีการพัฒนาขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ p ≤ 0.01
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2343
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130135.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.