Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2324
Title: EFFICACY AND SAFETY OF TOPICAL DAPSONE  IN TREATMENT OF ACNE VULGARIS  : A SYSTEMATIC REVIEW AND META-ANALYSIS
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานประสิทธิผล และความปลอดภัยของการใช้ยาแดปโซนชนิดทาในการรักษาสิว
Authors: JIRAKSA TREETANUCHAI
จิรักษา ตรีธนูชัย
Salinee Rojhirunsakool
สาลินี โรจน์หิรัญสกุล
Srinakharinwirot University
Salinee Rojhirunsakool
สาลินี โรจน์หิรัญสกุล
salineer@swu.ac.th
salineer@swu.ac.th
Keywords: สิว
สิวอักเสบ
สิวอุดตัน
แดปโซน
ยาทาแดปโซน
Acne
Acne vulgaris
Inflammatory papule
Comedone Dapsone
Topical dapsone
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Acne is a common skin disease and clinical practice, irritation and drug-resistance for C. acne bacteria were found using standard treatments. Topical dapsone has been used as an alternative treatment for patients unable to use standard treatments. It is currently used in two doses: 5% and 7.5% topical dapsone. The objectives of the study are: (1) to compare the efficacy of 5% and 7.5% topical dapsone once a day; and (2) to gather information on efficacy, onset of action, adverse effects and the safety of topical dapsone. The methodology was a systematic review of the literature on topical dapsone for acne treatment between January 2005 and April 2022. The articles were searched for on Medline, Scopus, and Cochrane Library databases and screened for relevant results to be used in the meta-analysis, the estimation of the pooled percentage of reduction rate of acne for 12 weeks compared with the baseline in studies investigating 5% and 7.5% topical dapsone. The results revealed that nine studies met the criteria and only five could be used in meta-analysis. It compared the percentage of acne reductions at 12 weeks after 5% and 7.5% topical dapsone once a day revealed that inflammatory papules decreased by 52.75%-54.6%, the comedones decreased by 27%- 45.1% and the total acne lesion decreased by 42%-48.8%, respectively. In the systematic review, both topical dapsone doses were more effective in treating inflammatory papules than comedones. The topical dapsone decreased inflammatory papules by a 25%, compared to a baseline of 2-4 weeks. It could provide stable results after about six months. Topical dapsone was effective in the treatment of acne, especially among females and patients 18 years and over. Topical dapsone has also been found to have the add-on effect for topical retinoid by improving comedones reduction. However, no synergism was observed when topical dapsone was used with benzoyl peroxide. The adverse effects of topical dapsone were relatively mild. The most common adverse effects were dryness, erythema, oiliness and peeling. No systemic adverse event was found for both dapsone doses.  Both doses of topical dapsone were effective and safe. The meta-analysis revealed 7.5% topical dapsone once a day was effective in reducing comedones compared to 5% topical dapsone twice a day. The authors hypothesized that 7.5% topical dapsone was more effective in reducing inflammation and number of C. acnes compared to 5% topical dapsone.
สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย ในทางเวชปฎิบัติการรักษาสิวมักพบปัญหาเรื่องการระคายเคือง และปัญหาเกิดเชื้อแบคทีเรีย C.acne ดื้อยาหลังใช้ยาทารักษาสิวมาตรฐาน อย่างไรก็ตามมีการนำยาทาแดปโซนมาใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษาสิว ในกรณีผู้ป่วยสิวไม่สามารถใช้ยากลุ่มมาตรฐานได้ โดยในปัจจุบันมีการใช้ยาทาแดปโซน 2 ความเข้มข้น คือ ยาทาแดปโซน 5% และ ยาทาแดปโซน 7.5%  ในงานวิจัยฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ยาทาแดปโซน 5% ที่ใช้ทาวันละ 2 ครั้ง เทียบกับการใช้ยาทาแดปโซน 7.5% ที่ใช้วันละ 1 ครั้ง และ รวบรวมข้อมูลด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผล,ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ รวมถึงผลข้างเคียงและความปลอดภัยของยาทาแดปโซน โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทาแดปโซนในการรักษาสิวอย่างเป็นระบบ ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2005 จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 โดยสืบค้นในฐานข้อมูล Medline, Scopus , Cochrance Library เพื่อนำข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านการคัดกรองเข้าสู่การศึกษา มาวิเคราะห์เชิงอภิมานหาค่าประมาณผลร่วมของเปอร์เซ็นการลดลงของสิวที่ระยะเวลา 12 สัปดาห์เทียบกับก่อนเริ่มรักษา ของงานวิจัยกลุ่มที่ใช้ยาทาแดปโซน 5% และ งานวิจัยกลุ่มที่ใช้ยาทาแดปโซน 7.5% จากผลการสืบค้นพบงานวิจัยที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด 9 ฉบับ และในจำนวนนี้มีเพียง 5 ฉบับ ที่สามารถนำมาวิเคราะห์เชิงอภิมาน พบว่า เปอร์เซ็นการลดลงของสิวที่ 12 สัปดาห์ หลังการใช้ยาทาแดปโซน 5% วันละ 2 ครั้ง เทียบกับหลังการใช้ยาทาแดปโซน 7.5% วันละ 1 ครั้ง เป็นดังนี้ สิวอักเสบลดลง 52.75% และ 54.6% , สิวอุดตันลดลง 27% และ 45.1% , สิวทั้งหมดลดลง 42% และ 48.8% ตามลำดับ  และในทุกการศึกษาที่รวบรวมได้พบว่า ยาทาแดปโซนทั้ง 2 ความเข้มข้น มีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาสิวอักเสบมากกว่าสิวอุดตัน โดยสามารถลดสิวอักเสบได้ 25% ในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ และยังพบว่าผลการรักษาของสิวทุกชนิดค่อนข้างคงที่หลังจากใช้ยาทาแดปโซนไปประมาณ 6 เดือน โดยยาทาแดปโซนมีประสิทธิภาพดีในการรักษาสิวโดยเฉพาะในกลุ่มเพศหญิง และ กลุ่มอายุ ≥18 ปี นอกจากนี้ยังพบว่ายาทาแดปโซนสามารถช่วยเสริมฤทธิ์ของยาทากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอในการลดจำนวนของสิวอุดตันได้ แต่ไม่เสริมฤทธิ์กันเมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่มเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ โดยยาทาแดปโซนมีผลข้างเคียงหลังการใช้ยาค่อนข้างน้อยและไม่รุนแรง โดยผลข้างเคียงที่มักพบ คือ อาการแห้ง , แดง , ผิวมัน และ ลอก  และ ไม่พบผลข้างเคียงจากการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดของยาทาแดปโซนทั้ง 2 ความเข้มข้นในงานวิจัย กล่าวโดยสรุป คือ ยาทาแดปโซนทั้ง 2 ความเข้มข้นมีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยในการรักษาสิว โดยจากการวิเคราะห์เชิงอภิมาน พบว่า ยาทาแดปโซน 7.5% ที่ใช้ทาวันละ 1 ครั้ง สามารถลดสิวอุดตันได้มากกว่ายาทาแดปโซน 5% ที่ใช้ทาวันละ 2 ครั้ง โดยทางผู้วิจัยมีสมมติฐานว่ายาทาแดปโซนความเข้มข้น 7.5% น่าจะสามารถลดการอักเสบ และลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย C. acnes ได้มากกว่า ยาทาแดปโซนความเข้มข้น 5%
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2324
Appears in Collections:Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110025.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.