Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2304
Title: THE ECOSYSTEM  MODEL AND BENCHMARKING OF PRIVATE SCHOOL ADMINISTRATION BETWEEN THAILANDAND SINGAPORE
รูปแบบระบบนิเวศและการเทียบเคียงสมรรถนะการบริหารสถานศึกษาเอกชน ของประเทศไทยและสิงคโปร์
Authors: AMORNRAT MEEPAT
อมรรัตน์ มีพัฒน์
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
Srinakharinwirot University
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
theeraphab@swu.ac.th
theeraphab@swu.ac.th
Keywords: ระบบนิเวศการบริหารการศึกษา
ระบบนิเวศการศึกษา
ธุรกิจการศึกษา
การศึกษาเอกชน
Educational administration ecosystem
Private schools
Ecology of education
Ecosystem management
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the following: (1) to study the components of the ecosystem of educational administration in private schools, (2) to analyze the ecological components of the ecosystem of educational administration in private schools, and (3) to benchmark the characteristics of the ecosystem between the administration of basic private education institutions of Thailand and Singapore. This study mixed qualitative and quantitative methodology with a framework applied from ecosystem theory. There were 250 samples that refer to the variable number criteria of Hair, Black, Babin, and Anderson (2010:100-102), i.e., the ratio between the parameters or variables studied per group. It was calculated for 220, quantitative questionnaires used for qualitative use and a five-point rating scale, in-depth interviews, and a group discussion. The data analysis used descriptive statistics values as follows: percentage, mean, standard deviation (SD), and Confirmatory Factor Analysis (CFA). The research results were as follows:  the private school administration ecosystem had seven main components, with 44 subcomponents, The details are as follows: (1) structural and component included four subcomponents; (2) the system and systematic included four subcomponents; (3) interdisciplinary included six subcomponents; (4) interaction networks included eight subcomponents; (5) equilibrium dynamics had nine subcomponents; (6) diversity integration included seven subcomponents; and (7) synergy included six subcomponents. The results of the conformity check of the seven components were a statistically significant positive correlation coefficient at a level of .01. The results of competency benchmarking of educational management based on private educational institutions' administrative ecosystems in Thailand and Singapore. They lacked a large degree of consistency. There were six components of moderate consistency: (1) structure and components; (2) systems and systematic; (3) interdisciplinary; (4) interaction network; (5) equilibrium and dynamics; and (6) synergy and there was a low-level amount of the component of diversity integration.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบนิเวศการบริหารสถานศึกษาเอกชน 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบนิเวศการบริหารสถานศึกษาเอกชน และ 3) เพื่อเทียบเคียงสมรรถนะการบริหารสถานศึกษาเอกชนของประเทศไทยและสิงคโปร์   งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน จาก ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรสายสนับสนุน จากโรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ และโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรสิงคโปร์  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Hair, Black, Babin and Anderson (2010:100-102) โดยใช้การคำนวณจากค่าพารามิเตอร์หรือตัวแปร มีอัตราส่วนของตัวแปรต่อกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 1 ต่อ 5-20  ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ มีตัวแปร จำนวน 44 ตัว คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 220-250 เป็นอย่างน้อย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์เนื้อ (Content analysis) และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามความคิดเห็นอัตราส่วนประมาณค่า 5 สแกน (Rating scan)  วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics)  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการศึกษาพบว่า  รูปแบบระบบนิเวศการบริหารสถานศึกษาเอกชนมี 7 องค์ประกอบหลัก และ 44 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ความเป็นโครงสร้าง มี 4 องค์ประกอบย่อย 2) ความเป็นเชิงระบบ มี 4 องค์ประกอบย่อย  3) ความเป็นสหวิทยาการและความหลากหลาย มี 6 องค์ประกอบย่อย 4) การเป็นเครือข่ายแห่งปฏิสัมพันธ์แบบเสริมพลัง มี 6 องค์ประกอบย่อย  5) ความเป็นพลวัตและการปรับตัวสู่สมดุล มี  9 องค์ประกอบย่อย 6) การบูรณาการความหลากหลายของการอยู่ร่วมกัน มี 7 องค์ประกอบย่อย และ 7) การเกื้อกูลเสริมถ่ายพลัง มี 6 องค์ประกอบย่อย  ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และผลการเทียบเคียงสมรรถนะการบริหารสถานศึกษาเอกชนของประเทศไทยและสิงคโปร์ พบว่า มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง จำนวน 6 ประกอบหลัก ได้แก่  (1) ความมีโครงสร้างและองค์ประกอบ (structural and components) (2) ความเป็นเชิงระบบ (systematic)  (3)  ความเป็นสหวิทยาการและหลากหลาย (interdisciplinary) (4) การเป็นเครือข่ายแห่งปฏิสัมพันธ์แบบเสริมพลัง (interaction network) (5) ความเป็นพลวัตและการปรับสู่สมดุล (equilibrium and dynamic) และ (6) การเกื้อกูลเสริมถ่ายพลัง (synergy)  และมีระดับความสอดคล้องที่ระดับน้อย จำนวน 1 องค์ประกอบ ได้แก่ การบูรณาการความหลากหลายของการอยู่ร่วมกัน (diversity integration)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2304
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150072.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.