Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2303
Title: THE DEVELOPMENT OF CAUSAL RELATIONSHIP MODEL AFFECTINGHIGH PERFORMANCE ORGANIZATION OF SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION
การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Authors: RINLAPAS SAGCHAIWUJTANA
รินทร์ลภัส ศักดิ์ชัยวัฒนา
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
Srinakharinwirot University
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantarat@swu.ac.th
jantarat@swu.ac.th
Keywords: องค์กรสมรรถนะสูง
ภาวะผู้นำดิจิทัล
สมรรถนะบุคลากร
วัฒนธรรมองค์กร
กลยุทธ์ขององค์กร
HPO
High Performance Organization
Causal Relationship Model
Digital Leadership
Organizational Culture and Strategies and Personnel Competency
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the level of digital leadership, personnel competency, organizational culture and strategies in a high-performance organization; (2) to develop and validate the causal relationship model affecting high performance organization of secondary schools under the authority of the Office of the Basic Education Commission; (3) to develop a high-performance organizational approach. The samples in this research were the director, deputy director, and teachers acting as assistant directors of secondary schools, a total of 873 people. The tool used to collect the data in this research was a five-point questionnaire. The statistics in the data analysis were basic statistics, confirmatory factor analysis and structural equation analysis. The research results were as follows: (1) the digital leadership aspect had the highest average score for understanding technology, then developing new capabilities and promoting a collaborative environment. The level of competency with the highest average score were morality, ethics and knowledge. The highest average score was student support, then participation in thought and action. The strategy level with the highest average score was mission, followed by academic administration using IT. For high performance organizations, the highest average score was attention to students and good governance; (2) secondary schools have administrators with digital leadership and high performing teachers and staff and an organizational strategy for good work. In addition, school administrators, including director and deputy director, must drive teachers and school personnel through organizational culture; (3) guidelines for high performance organization must have digital leadership, i.e., knowledge, competence, skills and digital characteristics, software and hardware, developing knowledge, abilities and skills through self-study, training, or interviews with experts, according to the courses at various institutions and assessing school administrators. In the aspect of knowledge assessment from performance or considering positive changes in the school and ability of the teachers to resolve the situation. Skills assessed from management that can be adjusted, according to the situation. and evaluated based on satisfaction. The characteristics were evaluated by observing the executives. School management allowed teachers, students, parents and communities to evaluate the performance of school administrators.
การวิจัยเรื่องการพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัล สมรรถนะบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร กลยุทธ์ขององค์กร และองค์กรสมรรถนะสูง  2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 873 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การทำความเข้าใจเทคโนโลยี รองลงมาคือ การพัฒนาความสามารถใหม่ ๆ และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมแบบรวมพลัง   ระดับสมรรถนะบุคลากรด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ รองลงมาคือด้านความรู้  ระดับวัฒนธรรมองค์กรด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือการสนับสนุนนักเรียน รองลงมาคือ การร่วมคิดร่วมปฏิบัติ  ระดับกลยุทธ์ขององค์กรด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ พันธกิจ รองลงมาคือการบริหารงานวิชาการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  ระดับองค์กรสมรรถนะสูงด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือการใส่ใจนักเรียน รองลงมาคือการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงาน และการนำองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล 2. โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงได้ โรงเรียนต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำดิจิทัล โรงเรียนต้องมีครูและบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง และโรงเรียนต้องมีกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นแนวทางหรือวิธีการทำงานที่ดี  นอกจากนั้นแล้วผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียนต้องทำการขับเคลื่อนครูและบุคลากรของโรงเรียนผ่านการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรด้วย 3. แนวทางการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีภาวะผู้นำดิจิทัล คือ มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะทางดิจิทัล ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ทำการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะเหล่านั้นด้วยวิธีการอ่านหนังสือหรือศึกษาด้วยตนเอง การฝึกอบรม สอบถามหรือสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาตามหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันต่าง ๆ หรือเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มของมหาวิทยาลัย  และทำการประเมินผู้บริหารโรงเรียนว่ามีภาวะผู้นำดิจิทัล ด้านความรู้ประเมินจากการปฏิบัติงาน พิจารณา output outcome หรือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของโรงเรียน ประเมินจากความสามารถของครูในโรงเรียน หรือการแก้ไขสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียน ด้านทักษะประเมินจากการบริหารจัดการที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันตามสถานการณ์ และประเมินจากความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้านคุณลักษณะประเมินด้วยวิธีสังเกตการแสดงออกของผู้บริหาร การบริหารจัดการโรงเรียน โดยให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2303
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150068.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.