Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2257
Title: SUCCESSFUL MANAGEMENT MODEL OF THE LARGE SCALE GOLDEN BANANA PLOT COMMUNITY ENTERPRISE IN TUMBON SOOKPAIBOON SERNGSARNG DISTRICT NAKORNRATCHASRIMA PROVINCE
รูปแบบการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองแปลงใหญ่ ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
Authors: KRIANGSAK WILEPANA
เกรียงศักดิ์ วิเลปะนะ
Cholvit Jearajit
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
Srinakharinwirot University
Cholvit Jearajit
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
cholvit@swu.ac.th
cholvit@swu.ac.th
Keywords: รูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน
การบริหารวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ
วิสาหกิจชุมชน
community enterprise management model
community enterprise group
successful community enterprise management
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to 1) study the factors of successful business management of a group of Golden Banana farmers in the community enterprise of Ban Sook Phai Boon, Sengsang, Nakhon Ratchasima, Thailand, 2) develop a model of successful business management for the aforementioned group, and 3) provide guidelines for sustainable community enterprise management. This is a mixed-method research project that collected both quantitative and qualitative data. The quantitative data were collected from 102 community enterprise members through random sampling to study the factors of business management, and from 94 member through purposive sampling to evaluate the suitability of the business model. The data were analyzed using Mean, Standard Deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. Qualitative data were obtained from 10 key informants who are important stakeholders in the community enterprise through semi-structured interviews and analyzed through content analysis. The findings revealed that 1. Success factors for large-scale Golden Banana community enterprise were highly successful in all aspects (Mean=3.97-4.15, S.D.=0.63-0.78). The statistical value of Chi-square is 146.832, df=114, p=.138, GFI=0.93, AGFI=0.92, RMSEA=0.04, SRMR=0.04. The community enterprise index CFI=1.00, indicating that the business management model that has achieved success is consistent with the empirical data. The important factors that supported the success of the enterprise are: community members bringing their knowledge, skills, and past experiences for learning and exchange; clear management systems for the cooperative's work; utilizing modern technology for knowledge transfer; collaborating with government agencies and efficient partner companies to guarantee prices. 2. The successful management of large-scale Golden Banana community enterprise is based on the key principles of: creating knowledge (Collaboration: C), coordinating with external organizations and cooperating to develop knowledge management (Management: M), creating management and cooperative management systems and area development (Network: N), focusing on studying and expanding cultivation areas, starting from creating a strong foundation from joining farmer groups and expanding the network in the form of a cooperative, creating an organization until it becomes a quality management model. 3. Sustainable management guidelines for achieving success are highly suitable (Mean=4.52-4.71, S.D.=0.53-0.76). The analysis of the correlation using Pearson's correlation coefficient between the suitability of each subcomponent reveals that all subcomponents have a significant correlation ranging from moderate to high levels. This is statistically significant at the .05 and .01 levels (rxy ranges from 0.248 to 0.710) and highly probable (Mean = 4.43-4.72, S.D. = 0.50-0.81). The analysis of the correlation using Pearson's correlation coefficient between the possibility of each subcomponent reveals that all subcomponents have a significant correlation ranging from moderate to high levels. This is statistically significant at the .05 and .01 levels (rxy ranges from 0.228 to 0.705).
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยของการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมทองแปลงใหญ่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมทองแปลงใหญ่ ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่มีการเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 102 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อศึกษาปัจจัยของการบริหารจัดการธุรกิจ และเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 94 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของแนวทางในการบริหารจัดการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมทองแปลงใหญ่มีความสำเร็จในระดับมากทุกปัจจัย (Mean = 3.97-4.15, S.D.=0.63-0.78) มีค่าสถิติ c2 เท่ากับ 146.832, df = 114, p = .138, GFI = 0.93, AGFI = 0.92, RMSEA = 0.04, SRMR = 0.04 ส่วนดัชนีกลุ่มเปรียบเทียบ CFI = 1.00 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ความสอดคล้องทุกดัชนีชี้ให้เห็นว่าโมเดลรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนเสริมให้วิสาหกิจประสบความสำเร็จ คือ สมาชิกในวิสาหกิจชุมชนนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์เดิมของตนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารงานของวิสาหกิจมีระบบที่ชัดเจน การถ่ายโอนความรู้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยในการประกันราคา  2) การบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมทองแปลงใหญ่ใช้หลักการสำคัญ คือ การสร้างองค์ความรู้ (Collaboration: C) ประสานงานองค์กรภายนอกและร่วมมือพัฒนาองค์ความรู้ การบริหารจัดการ (Management: M) สร้างระบบการบริหารและการจัดการวิสาหกิจ และ การพัฒนาพื้นที่ (Network: N) มุ่งเน้นการศึกษาและขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยมีจุดเริ่มต้นจากการสร้างความเข้มแข็งจากการร่วมกลุ่มเกษตรกรและขยายเครือข่ายในรูปของวิสาหกิจ สร้างองค์กร จนเกิดเป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ และ 3) แนวทางการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.52-4.71, S.D. = 0.53-0.76) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างความเหมาะสมในแต่ละองค์ประกอบย่อยพบว่าทุกองค์ประกอบย่อยมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับ .01 (rxy อยู่ระหว่าง 0.248 ถึง 0.710) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.43-4.72, S.D. = 0.50-0.81) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระหว่างความเป็นไปได้ในแต่ละองค์ประกอบย่อยพบว่าทุกองค์ประกอบย่อยมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับ .01 (rxy อยู่ระหว่าง 0.228 ถึง 0.705)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2257
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631150180.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.