Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2250
Title: APPROACHES TO MANAGE THE APPROPRIATE PUBLIC SIDEWALK FOR BANGKOK CITIZEN
แนวทางการจัดการทางเท้าสาธารณะที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในกรุงเทพมหานคร
Authors: SURAWUT WUTTIPHATTRAPIWAT
สุรวุฒิ วุฒิภัทราภิวัฒน์
Chulasak Channarong
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์
Srinakharinwirot University
Chulasak Channarong
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์
chulasak@swu.ac.th
chulasak@swu.ac.th
Keywords: ทางเท้าสาธารณะ
กรุงเทพมหานคร
ทฤษฎีการจัดการ POLC
Public sidewalk
Bangkok metropolitan administration
Management theory POLC
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research has the following objectives: (1) to study the obstacles to proper management of public sidewalks for people in Bangkok; (2) to study ways to solve obstacles to the proper management of public sidewalks for people in Bangkok. The qualitative research was conducted with key informants to fulfill the first objective, including a representative from the Construction and Renovation Office of the Public Works Department of Bangkok, (one person), a representative from the evaluation group, the Office of Standards and Evaluation, Department of Highways, Ministry of Transport (one person), and the owner of the Facebook Fan Page of The Sidewalk Worldwide Sidewalk (one person). The second objective included a representative from the Construction and Renovation Office of the Public Works Department of Bangkok, (one person), a representative from the Healthy Lifestyle Promotion section of the Thai Health Promotion Foundation (Sor Sor Sor.), (one person), and a representative from Thai Urban Designers Association (one person). In the first objective, the Bangkok Metropolitan Administration had obstacles in managing public sidewalk according to POLC management theory, as follows: (1) Planning: the Bangkok Metropolitan Administration did not plan public sidewalks to suit the context of each area; (2) Organization: the Bangkok Metropolitan Administration used a governmental management system so there was a chain of command that made it less flexible; (3) Leading: In the past, the leader did not pay much attention to the management of public sidewalks; (4) Controlling: the public sidewalks of the Bangkok Metropolitan Administration are being exploited by thieves, due to loose control of the area. In the second objective, (1) Planning: the Bangkok Metropolitan Administration must increase the participation of people in the area for people to jointly plan public sidewalks to suit their own areas; (2) Organizing: the Bangkok Metropolitan Administration applied technology to manage information and distribute workload among personnel more conveniently and faster; (3) Leading: Leadership affects the morale and morale of personnel which makes the staff more enthusiastic and attentive to public sidewalks; and (4) Controlling: the Bangkok Metropolitan Administration must increase the penalty if illegally using the wrong type of public sidewalk. and requiring permission to be requested every time to make it easier to track and control the use of other agencies.
การวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาอุปสรรคต่อการจัดการทางเท้าสาธารณะที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในกรุงเทพมหานคร และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขอุปสรรคในการจัดการทางเท้าสาธารณะที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กับผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อแรก ประกอบด้วย ตัวแทนจากสำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักโยธา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ท่าน ตัวแทนจากกลุ่มประเมินผล สำนักงานมาตรฐานและประเมินผล กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จำนวน 1 ท่าน และ เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก TheSidewalk โลกกว้างข้างทางเท้า จำนวน 1 ท่าน และ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อสอง ประกอบด้วย ตัวแทนจากสำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักโยธา กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ท่านตัวแทนจากสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) จำนวน 1 ท่าน และตัวแทนจากสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย จำนวน 1 ท่าน จากวัตถุประสงค์ข้อแรก ผลการศึกษาพบว่า (1) การวางแผน (Planning) กรุงเทพมหานครขาดการวางแผนการจัดการทางเท้าสาธารณะให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ (2) การจัดการองค์การ (Organizing) กรุงเทพมหานครใช้ระบบบริหารจัดการแบบภาครัฐจึงมีสายบังคับบัญชาที่ทำให้มีความคล่องตัวน้อย (3) ภาวะผู้นำ (Leading) ที่ผ่านมาการแสดงออกของความเป็นเจ้าภาพในการจัดการของกรุงเทพมหานครยังไม่ชัดเจน และ (4) การควบคุม (Controlling) พื้นที่ทางเท้าสาธารณะของกรุงเทพมหานครมีผู้ลักลอบใช้งานที่ผิดประเภทซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมที่หย่อนยาน จากวัตถุประสงค์ข้อสอง ผลการวิจัยพบว่า (1) การวางแผน (Planning) กรุงเทพมหานครต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนร่วมกันวางแผนทางเท้าสาธารณะให้เข้ากับพื้นที่ของตัวเอง (2) การจัดการองค์การ (Organizing) กรุงเทพมหานครได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการข้อมูลและกระจายภาระงานให้กับบุคลากร เป็นการเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว (3) ภาวะผู้นำ (Leading) ภาวะผู้นำส่งผลต่อขวัญและกำลังใจกับบุคลากร ทำให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นและใส่ใจต่อทางเท้าสาธารณะมากยิ่งขึ้น และ (4) การควบคุม (Controlling) กรุงเทพมหานครต้องเพิ่มบทลงโทษหากมีการลักลอบใช้งานทางเท้าสาธารณะที่ผิดประเภท และกำหนดให้มีการขออนุญาตทุกครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและควบคุมการใช้งานของหน่วยงานอื่น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2250
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130565.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.