Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2209
Title: THE DEVELOPMENT OF GRADE 11 STUDENTS' SCIENTIFIC LITERACY IN THE TOPIC OF FOOD USING SOCIOSCIENTIFIC ISSUE-BASED LEARNING 
การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์
Authors: JIRAWAN NUCHAROEN
จิรวรรณ หนูเจริญ
Chanyah Dahsah
จรรยา ดาสา
Srinakharinwirot University
Chanyah Dahsah
จรรยา ดาสา
chanyah@swu.ac.th
chanyah@swu.ac.th
Keywords: ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์
อาหาร
มัธยมศึกษาตอนปลาย
ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์
Scientific literacy
Food
Upper secondary school students
Socio-scientific issue-based learning
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are to study the scientific literacy of Grade 11 students in the topic of food using socio-scientific issue-based learning, using an average score before and after learning, the scientific literacy levels of the students, and the learning gain of students, in terms of both classes and individuals. The research design was a data validation with a mixed methods design. The samples consisted of 44 eleventh grade students at a school in the Bangkok Secondary Education Service Area, Office One, as selected by Convenience Sampling. The research instruments were the socio-scientific issue-based learning lesson plans with an Index of Item Objective Congruence (IOC) at 0.67-1.00; the scientific literacy tests with an IOC at 0.67-1.00, a difficulty level between 0.41-0.73, and discrimination was between 0.33-0.90, a Cronbach's alpha coefficient value at 0.653; a teaching observation form and an interview protocol. The data were analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation, as well as a t-test for dependent samples, and normalized gain. The results of this study were as follows: (1) the average score of scientific literacy and its component was higher than before learning at the statistically significant level of .01; (2) all students had a scientific literacy level of Level Three or and higher, the number of students at Levels Three, Four, Five, and Six were  23 (52.27%), 11 (25.00%), 8 (18.18%), and 2 (4.55%), respectively; (3) the overall learning gain in science literacy was at a moderate level, interpreting data and evidence scientifically was at a high level, explaining phenomena scientifically and evaluating and designing scientific enquiry were at a moderate level; (4) 93.18% of students had a learning gain in scientific literacy at a moderate and a higher level, with students at a high and moderate level with five (11.36%), 36 (81.82%), and three (6.82%), respectively.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เรื่องอาหาร ที่มีต่อความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน  ระดับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์และศึกษาพัฒนาการด้านความฉลาดรู้ทั้งในภาพรวมและรายบุคคล โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบบการตรวจสอบความตรงของข้อมูล กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 44 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.41 - 0.73 และมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.90 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (α -Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ 0.653 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าพัฒนาการความฉลาดรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในภาพรวมและรายสมรรถนะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ระดับความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนรายบุคคลอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 100 ประกอบด้วย ระดับ 3 จำนวน 23 คน (ร้อยละ 52.27) ระดับ 4 จำนวน 11 คน (ร้อยละ 25.00)  ระดับ 5 จำนวน 8 คน (ร้อยละ 18.18) และระดับ 6 จำนวน 2 คน (ร้อยละ 4.55) 3) พัฒนาการของความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพัฒนาการความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์สมรรถนะการแปลความหมายของข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง ส่วนสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และ สมรรถนะการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีพัฒนาการความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง 4) นักเรียนร้อยละ 93.18 มีพัฒนาการความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์รายบุคคลอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป โดยนักเรียนมีพัฒนาการของความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับสูงจำนวน 5 คน (ร้อยละ 11.36) ระดับกลางจำนวน 36 คน (ร้อยละ 81.82) และระดับต่ำจำนวน 3 คน (ร้อยละ 6.82 )
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2209
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130040.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.