Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2177
Title: DEVELOPING AN ELECTRONIC BOOK ABOUT SNACKS AND THAI LIFESTYLEFOR CHINESE LEARNERS
การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน
Authors: LI SHUTING
หลี่ ชูถิง
Nition Pornumpaisakul
นิธิอร พรอำไพสกุล
Srinakharinwirot University
Nition Pornumpaisakul
นิธิอร พรอำไพสกุล
nition@swu.ac.th
nition@swu.ac.th
Keywords: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, อาหารว่าง, วิถีชีวิตของคนไทย, ผู้เรียนชาวจีน
Electronic Book Snacks Thai lifestyle Chinese learners
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This thesis has the following objectives: (1) to create and find the efficiency of an electronic book about snacks and Thai lifestyle for Chinese learners; and (2) to study the satisfaction of learners with the use of electronic books about snacks and Thai lifestyle for Chinese learners by using the One-Shot Case Study experiment research model with the target group, consisting of 12 third-year undergraduate Chinese students in the Thai Language Department of Yuxi Normal University, who were willing to participate in the experiment. The tools used in this research were an electronic book with nine units, about snacks and the Thai lifestyle for Chinese learners, including Unit One: What is a snack?; Unit Two: Bringing children for Take Miang Khao; Unit Three: Fried fish cakes or fish and mushrooms; Unit Four: Running awake - Khao Tang Na Tang; Unit Five: Thai-style steamed rice crackers; Unit Six: Let's eat spring rolls; Unit Seven: About flour and sago with pork fillings; Unit Eight: Skewered Grilled Meat – Satay; Unit Nine: Pan Ten or Pan Krip: What exactly is it called? There is testing during class, after class and a satisfaction assessment form for the use of an electronic book about snacks and Thai lifestyle for Chinese learners. The results showed that an electronic book about snacks and Thai lifestyle for Chinese learners had an efficiency of E1/E2 = 88.43/92.6, which is higher than the specified criteria E1/E2 = 75/75. The average satisfaction in using e-books was 4.84 points, showed the highest level of satisfaction with an electronic book with about snacks and a Thai lifestyle for Chinese learners to help strengthen Thai language skills and increase knowledge of snacks related to the lifestyles of Thai people.
ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้หนังสือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน โดยใช้รูปแบบการวิจัย One-Shot Case Study ทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชาวจีน ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาภาษาไทย Yuxi Normal University ที่ยินดีเข้าร่วมทดลองจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน จำนวน 9 บท ได้แก่ บทที่ 1 อาหารว่างคืออะไร บทที่ 2 เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม บทที่ 3 อันทอดมันหรือคือปลาเห็ด บทที่ 4 วิ่งหน้าตาตื่น-ข้าวตังหน้าตั้ง บทที่ 5 ข้าวเกรียบปากหม้อแบบไทย ๆ บทที่ 6 มากินเปาะเปี๊ยะกัน บทที่ 7 เรื่องแป้ง เรื่องสาคูไส้หมู บทที่ 8 เนื้อย่างเสียบไม้---สะเต๊ะ บทที่ 9 ปั้นสิบ หรือ ปั้นขลิบ เรียกว่าอะไรกันแน่ แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 88.43 / 92.6 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด E1/E2 = 75/75 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เท่ากับ 4.84 คะแนน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด แสดงให้เห็นว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อาหารว่างกับวิถีชีวิตไทย สำหรับผู้เรียนชาวจีน ช่วยเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาไทยและเพิ่มพูนความรู้เรื่องอาหารว่างที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทย
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2177
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130213.pdf11.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.