Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2160
Title: COMPARISION OF EXTRACTION AND ANTI-INFLAMMATORY ACTIVITYOF TURMERIC EXTRACTED BY COCONUT OIL ACCORDING TOTHAI TRADITIONAL MEDICINE AND MODERN METHOD
การเปรียบเทียบวิธีการสกัดและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดขมิ้นชันด้วยน้ำมันมะพร้าวตามวิธีการแพทย์แผนไทยดั้งเดิมและวิธีการสมัยใหม่
Authors: KETWARAPORN WONGPIM
เกษวราภรณ์ วงษ์พิมพ์
Sarin Tadtong
สริน ทัดทอง
Srinakharinwirot University
Sarin Tadtong
สริน ทัดทอง
sarin@swu.ac.th
sarin@swu.ac.th
Keywords: ขมิ้นชัน, เคอร์คิวมิน, น้ำมันมะพร้าว, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ไซโคลออกซิจีเนส-2, ไนตริก ออกไซด์ ซินเทส
turmeric
curcumin
coconut oil
anti-inflammatory activity
cyclooxygenase-2
nitric oxide synthase
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: Objective: The purpose of this study is to compare the curcumin content and anti-inflammatory activity of coconut oil-extracted turmeric between Thai traditional and modern extraction method. Materials and Methods: The turmeric extract was prepared by deep-frying turmeric (Curcuma longa L.) in coconut oil for three to four hours, according to Thai traditional medicine practice. For the modern extraction method, turmeric was deep fried in coconut oil for 35, 40, and 45 minutes. The UV-Vis spectrophotometry was carried out to determine curcumin in the turmeric extract, then selected the highest yield curcumin of each method to detect with HPLC and then evaluate their anti-inflammatory activity using cyclooxygenase-2 (COX-2) and nitric oxide synthase (NOS) inhibitory assays. Results: the average content of curcumin in 35 minutes, 40 minutes, and 45 minutes with the modern method, was less than Thai traditional medicine method. The three-hour turmeric extract exhibited the highest average content of curcumin (0.400 ± 0.014% w/v). For HPLC analysis revealed that the average content of curcumin, desmethoxycurcumin and bisdesmethoxycurcumin in the 3-hours turmeric extract were 0.048 ± 0.002, 0.014 ± 0.005 and 0.007 ± 0.001 %w/w respectively, which more than the 45-minute turmeric extract. The anti-inflammatory activity, COX-2 and NOS inhibition of a three-hour turmeric extract indicated higher average %inhibition of COX-2 (60.115 ± 3.215 %) and NOS (93.708 ± 0.340 %) than the 45-minutes turmeric extract. Conclusion: The obtained turmeric extract from deep-frying turmeric in coconut oil for three hours at 160°C, which was the extraction method of Thai traditional medicine practice, yielding a higher average curcumin, desmethoxycurcumin and bisdesmethoxycurcumin content and anti-inflammatory activity, COX-2, and NOS inhibitory activities than modern extraction method (45 minutes).
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การเปรียบเทียบปริมาณเคอร์คิวมินและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดขมิ้นชันที่สกัดด้วยน้ำมันมะพร้าวตามวิธีการแพทย์แผนไทยดั้งเดิมและวิธีสมัยใหม่ วิธีการศึกษา เตรียมสารสกัดขมิ้นชันโดยนำขมิ้นชันไปทอดในน้ำมันมะพร้าวตามวิธีการแพทย์แผนไทยดั้งเดิม โดยทอดนาน 3 และ 4 ชั่วโมง เตรียมสารสกัดตามวิธีการสมัยใหม่ โดยทอดขมิ้นชันนาน 35, 40 และ 45 นาที แล้วนำสารสกัดขมันชันที่ได้ไปตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารเคอร์คิวมิน ด้วย UV-Vis spectrophotometry แล้วเลือกวิธีการสกัดที่มีปริมาณสารเคอร์คิวมากที่สุด นำไปวิเคราะห์หาปริมาณสารเคอร์คิวมินอยด์ ด้วย HPLC และศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยวิธี COX-2 inhibition assay และ NOS inhibition assay ผลการศึกษา การวิเคราะห์หาปริมาณสารเคอร์คิวมินด้วยวิธี UV-Vis spectrophotometry พบว่าวิธีการสกัดขมิ้นชันในน้ำมันมะพร้าวนาน 35 นาที, 40 นาที, 45 นาที ซึ่งเป็นวิธีการสมัยใหม่ มีปริมาณสารเคอร์คิวมินน้อยกว่าวิธีการแพทย์แผนไทยดั้งเดิม โดยวิธีสกัดขมิ้นชันนาน 3 ชั่วโมง มีปริมาณสารเคอดร์คิวมินเฉลี่ยมากที่สุด (0.400 ± 0.014%w/v) และผลการวิเคราะห์ปริมาณสารเคอร์คิวมินอยด์ ด้วย HPLC พบว่า วิธีการสกัดขมิ้นชันในน้ำมันมะพร้าวนาน 3 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ยของ ปริมาณสารเคอร์คิวมิน ดีเมทอกซีเคอร์คิวมิน บิสดีเมทอกซีเคอร์คิวมิน เท่ากับ 0.048 ± 0.002 %w/w, 0.014 ± 0.005 %w/w และ 0.007 ± 0.001 %w/w ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าวิธีการสกัดขมิ้นชันนาน 45 นาที สำหรับฤทธิ์ต้านการอักเสบในการยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) และ nitric oxide synthase (NOS) ของสารสกัดขมิ้นชันในน้ำมันมะพร้าว 3 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ยฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 (60.115 ± 3.215 %) และ NOS (93.708 ± 0.340 %) มากกว่าวิธีการสกัดขมิ้นชันนาน 45 นาที สรุปผลการศึกษา วิธีการสกัดขมิ้นชันด้วยการทอดในน้ำมันมะพร้าวนาน 3 ชั่วโมงที่อุณหภูมิประมาณ 160 °C ซึ่งเป็นวิธีตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยดั้งเดิม มีปริมาณเฉลี่ยของสารเคอร์คิวมิน ดีเมทอกซีเคอร์คิวมิน และบีสดีเมทอกซีเคอร์คิวมิน และฤทธิ์ต้านการอักเสบในการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 และ NOS มากกว่าวิธีการสกัดขมิ้นชันในน้ำมันมะพร้าว นาน 45 นาที ซึ่งเตรียมตามวิธีสมัยใหม่
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2160
Appears in Collections:Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110120.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.