Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2113
Title: | THE DEVELOPMENT OF CURRICULUM BASED ON STRATEGIC THINKINGCONCEPT TO ENHANCE FINANCIAL LITERACYFOR UNDERGRADUATE STUDENTS การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี |
Authors: | KAMOLSAK WONGSRIKAEW กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว Kittichai Suthasinobol กิตติชัย สุธาสิโนบล Srinakharinwirot University Kittichai Suthasinobol กิตติชัย สุธาสิโนบล kittichai@swu.ac.th kittichai@swu.ac.th |
Keywords: | การพัฒนาหลักสูตร การคิดเชิงกลยุทธ์ ความรู้เรื่องทางการเงิน Curriculum development Strategic thinking Financial literacy |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objectives of this research are as follows: (1) to develop a curriculum based on the concept of strategic thinking to promote financial literacy among undergraduate students; and (2) to examine the effectiveness of the curriculum developed based on the concept of strategic thinking to enhance the financial literacy of undergraduate students. The research was divided into four phases: (1) the data related to financial literacy was collected using documentary research, interviews with six financial experts concerning the components of financial literacy, and a survey study with 400 students on financial literacy. The results showed that the components of financial literacy included financial attitudes, knowledge, and financial behavior; (2) a curriculum was drafted and then submitted to the experts in instructional curriculum and assessment in order to assess the suitability and consistency of the drafted curriculum, such as the learning management plan, the financial literacy scale, and the student satisfaction scale. According to the results, the consistency index ranged from 0.80 to 1.00; and (3) the developed curriculum was tested for 10 weeks (three hours a week) with 27 third-year students from the Thai Language Teaching Department in the Faculty of Education at Dhonburi Rajabhat University. The results were as follows: (1) after using the developed curriculum, the average total scores on financial literacy increased with a statistical significance level of .05; (02) the total scores of the students in terms of financial literacy were greater than 80 with a statistically significant level of .05; (3) the average satisfaction levels of students with the developed curriculum were at a high level; and (4) the effectiveness of the curriculum was assessed for further improvement. Based on the results, the developed curriculum met all three assessment criteria, indicating that it was effective and could be used in courses related to the development of financial literacy. การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. พัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2.ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรตามแนวคิดการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ 1.การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องทางการเงิน โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินจำนวน 6 คนเกี่ยวกับองค์ประกอบของความรู้เรื่องทางการเงิน และสอบถามกับนักศึกษาจำนวน 400 คนเกี่ยวกับความต้องการต่อการจัดการเรียนรู้ทางการเงิน พบว่าองค์ประกอบของความรู้เรื่องทางการเงินประกอบไปด้วย ความรู้ทางการเงิน ทัศนคติทางการเงิน และพฤติกรรมทางการเงิน 2.การจัดทำรายละเอียดของร่างหลักสูตร โดยนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน และการวัดประเมินผลได้ประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของร่างหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความรู้เรื่องทางการเงิน และแบบวัดความพึงพอใจ/ทัศนคติ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 3.การทดลองใช้หลักสูตร โดยนำหลักสูตรไปใช้เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 27 คน พบว่า 1)นักศึกษามีคะแนนรวมเฉลี่ยของความรู้เรื่องทางการเงินหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) นักศึกษามีคะแนนรวมเฉลี่ยของความรู้เรื่องทางการเงินหลังการใช้หลักสูตรมากกว่า 80 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจ/ทัศนคติต่อหลักสูตรในระดับมาก 4.การประเมินประสิทธิผลและการปรับปรุงหลักสูตร พบว่า หลักสูตรที่พัฒนาบรรลุเกณฑ์ประสิทธิผลที่ตั้งไว้ทั้ง 3 เกณฑ์ แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรที่พัฒนานี้มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้เรื่องทางการเงินได้ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2113 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs591150006.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.