Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2067
Title: ACADEMIC LEADERSHIP FACTOR OF SCHOOL DIRECTOR, TEACHER QUALITY FACTOR, AND STUDENT CHARACTERISTICS FACTOR AFFECTING STUDENT QUALITY IN THE ERA OF THAILAND 4.0 OF SCHOOLS UNDER SAMUT PRAKAN SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ปัจจัยคุณภาพครู และปัจจัยลักษณะผู้เรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 
Authors: WISOOT DETMEUNG
วิสูตร เดชเมือง
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
Srinakharinwirot University
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantarat@swu.ac.th
jantarat@swu.ac.th
Keywords: ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร
ปัจจัยคุณภาพครู
ปัจจัยลักษณะผู้เรียน
คุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
Academic leadership factors
School directors
Teacher quality factor
Student characteristic factors
Quality of learners
Samut Prakan Secondary Education Service Area Office
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the quality level of learners in the 4.0 era of educational institutions under the Samut Prakan Secondary Education Service Area Office; (2) to study the level of academic leadership factors of administrators; (3) to study the relationship between academic leadership factors of administrators and teacher quality; (4) to study the factors of the academic leadership of executives, teacher quality and learner characteristics and quality in the 4.0 era of educational establishments under the Samut Prakan Secondary Education Service Area Office. The sample consisted of 335 teachers in educational institutions in the Samut Prakan Secondary Education Service Area Office. The instrument used for data collection was a five-point questionnaire and a reliability value of 0.94. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, the Pearson correlation coefficient and multiple regression analysis-enter method. The results were as follows: (1) student quality was at a high level and each aspect was at a high level. The side with the highest average is an active citizen, following innovative co-creators and learners. The lowest average value was achievement; (2) the levels of academic leadership factors among school directors were at a high level. The highest average value was managing instructional and programs promoting school climate and the lowest average value was framing school goals. The levels of teacher quality were at a high level. The highest average value was strategies for learning management, followed by personality, morality, ethics, and commitment to development. The level of student characteristics was at a high level. The highest average value was achievement motivation, followed by student attitudes; (3) the teacher quality factor correlated with the quality of learners at a high level (r = 0.56), and statistically significant at a level of .05. The student characteristics factor correlated with the quality of learners in the 4.0 era at a high level (r = 0.51), statistically significant at a level of .05 and the academic leadership factors were correlated with the quality of learners at a high level (r = 0.50) at a statistically significant level of .05; (4) academic leadership factors of school directors, teacher quality factors and student characteristics factors could jointly predict student quality in the era of Thailand 4.0 of schools under Samut Prakan Secondary Educational Service Area Office at 38% and at a statistically significant at a level of .05.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียนคุณภาพผู้เรียนในยุค 4.0 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 2) ศึกษาระดับปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ปัจจัยคุณภาพครู และปัจจัยลักษณะผู้เรียน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ปัจจัยคุณภาพครู และปัจจัยลักษณะผู้เรียนกับคุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ปัจจัยคุณภาพครู และปัจจัยลักษณะผู้เรียนกับคุณภาพผู้เรียนในยุค 4.0 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูที่ปฏิบัติในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการการถดถอยพหุคูณแบบการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ พลเมืองที่เข้มแข็ง รองลงมา คือ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ถัดมา คือ ผู้เรียนรู้ และด้านที่น้อยที่สุด คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการด้านการเรียนการสอน รองลงมาคือ การเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของสถานศึกษา ถัดมาคือ การกำหนดภารกิจของโรงเรียน ปัจจัยคุณภาพครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ รองลงมาคือ บุคลิกภาพ ถัดมาคือ คุณธรรมและจรรยาบรรณ และ การมุ่งมั่นพัฒนา ปัจจัยลักษณะผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ รองลงมาคือ เจตคติต่อการเรียน 3) ปัจจัยคุณภาพครู มีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ในทางบวกระดับปานกลาง(r=0.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ถัดมาปัจจัยลักษณะผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ในทางบวกระดับปานกลาง(r=0.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ในทางบวกระดับปานกลาง(r=0.50) 4) ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ปัจจัยคุณภาพครู และปัจจัยลักษณะผู้เรียนสามารถพยากรณ์คุณภาพผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 38 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2067
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130519.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.