Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1979
Title: CREATIVE INNOVATION PROCESS BY LOCAL WISDOM-BASED LEARNING SUPPORT TO CREATE INNOVATION:CASE STUDY OF AN OTOP OCCUPATION GROUP
กระบวนการสร้างนวัตกรรมบนฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรม : กรณีศึกษากลุ่มอาชีพหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
Authors: THAWICHAKON KHUNPAKDEE
ทวิชากร ขุนภักดี
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
Srinakharinwirot University
Thasuk Junprasert
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
thasuk@swu.ac.th
thasuk@swu.ac.th
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น , การสร้างนวัตกรรม ,กระบวนการสร้างนวัตกรรม
Local wisdom
Innovation creation
Innovation creation process
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study is qualitative research and has the following aims: (1) to understand the process of creating innovation using the local wisdom of a One Tambon One Product Occupational (OTOP) group; (2) to understand the social and cultural factors, and the personal characteristics related to creating innovation by using the local wisdom of OTOP groups; and (3) finding ways to promote learning to create innovation based on local wisdom for OTOP groups. The key informants in this research were the lead members of OTOP occupational groups in four provinces by using the case study method and data collection by in-depth interviews. The results of the research revealed the following: (1) the innovation creation process of professional groups was divided into three phases: phase one, the beginning of product creation, phase two, product modification to add value, and phase three, product development and participation in the Knowledge Based OTOP Network (KBO), Project Two. The conditions related to the process of creating innovation using local wisdom revealed the following: (1) the social and cultural conditions consisted of: (1.1) receiving wisdom from ancestors; (1.2) the cost of raw materials to produce products in the community; (1.3) the cost of industrial skills and handicrafts; (1.4) the presence of learning resources in the community; and (1.5) knowledge from external experts; and (2) the conditions of personal characteristics affecting innovation were as follows: (2.1) the knowledge gained from learning about product creation; (2.2) knowledge and experience from work and learning that promoted product creation; (2.3) technical skills in equipment fabrication; and (2.4) understanding the use of goods and products. This approach to promoting learning for innovation development included the following: (1) promoting the transfer of local wisdom; (2) approaches to promote learning through government agency support. The findings on the learning promotion guidelines were as follows: (1) product knowledge support; (2) product development and marketing knowledge promotion; (3) product story creation; (4) promotion of using local plants to create products and as a geographical indicator; (5) promotion to compete at the national level; and (6) encouraging entrepreneurs to apply for patents and petty patents. The key findings from this research can be applied to development guidelines for the actions of stakeholders to create innovations based on local wisdom.
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างนวัตกรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มอาชีพหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) 2) ทำความเข้าใจเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม ลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างนวัตกรรมโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มอาชีพหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) และ 3)ค้นหาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมบนฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มอาชีพหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) โดยกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มอาชีพหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวน 4 กลุ่ม ซึ่งใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษารายกรณี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และทำการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบวนการสร้างนวัตกรรมของกลุ่มอาชีพแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 จุดเริ่มต้นของการสร้างผลิตภัณฑ์ ช่วงที่ 2 การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า และช่วงที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเข้าร่วมโครงการเครือข่ายองค์ความรู้(KBO) 2.เงื่อนไขที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างนวัตกรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า 1)เงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย 1.1)การได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ 1.2) การมีต้นทุนทางวัตถุดิบในการสร้างผลิตภัณฑ์ในชุมชน 1.3) การมีต้นทุนด้านทักษะอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 1.4) การมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 1.5) การได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก และ 2) เงื่อนไขด้านลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมประกอบด้วย 2.1) ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนที่เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ 2.2) ความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ในการทำงานที่ส่งเสริมในการสร้างผลิตภัณฑ์ 2.3การมีทักษะเชิงช่างในการประดิษฐ์อุปกรณ์ และ 2.4) การเข้าอกเข้าใจอย่างรู้ถึงการใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์3. แนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วยการส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ โดยพบแนวทางในการส่งเสริม ประกอบด้วย 3.1 การสนับสนุนด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ 3.2) การส่งเสริมความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด 3.3) การส่งเสริมการสร้างเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ 3.4) การส่งเสริมในการใช้พืชท้องถิ่นสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 3.5) การส่งเสริมเพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศ 3.6) การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP จดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จากข้อค้นพบจากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสร้างนวัตกรรมบนฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1979
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130456.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.