Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1971
Title: EFFECTIVENESS OF ENVIRONMENTAL HEALTH LITERACY ENHANCEMENT PROGRAM WITH CASE-BASED LEARNING ON THE ENVIRONMENT MANAGING BEHAVIOR FOR THE DEPENDENCY ELDERLY AMONGVILLAGE HEALTH VOLUNTEER
ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วยการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Authors: THAPSUDA JIOTRAKUL
เทพสุดา จิวตระกูล
Ujsara Prasertsin
อัจศรา ประเสริฐสิน
Srinakharinwirot University
Ujsara Prasertsin
อัจศรา ประเสริฐสิน
utsara@swu.ac.th
utsara@swu.ac.th
Keywords: ความรอบรู้ทางสุขภาพ
การดูแลสุขภาพ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
การวิจัยผสานวิธี
Health literacy
Health care
Caregiver
Mixed methods
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to study the community context, the problems, and the guidelines for environmental management among the dependent elderly and the environmental health literacy (2) to study the effectiveness of an environmental health literacy enhancement program with case-based learning on the environmental management behavior for dependency among the elderly and village health volunteers. This research was conducted using mixed-method research. In Phase One, qualitative research was used before the trial to obtain information for drafting programs, and Phase Two was to study the effectiveness of the program and use qualitative research again to support the results. The research instruments included environmental health literacy measurements, the arrangement of behavior measurements. The program was conducted in a trial group of 30 people and a control group of 30 people, who were village health volunteers in Chachoengsao and Yasothon provinces. The results revealed the follows: (1) most dependent elderly people had caregivers who were their children or in-laws. There are only some houses that have only one elderly person living in it and also have a village health volunteer to take care of them. The working styles of village health volunteers had two forms: (1) formal work in accordance with responsibilities assigned by the Ministry of Public Health by making home visits at least four times a month, and informal work using relationships to take care of them, such as neighbors and kinship relationships. The problems encountered included physical and environmental problems in the home and environmental health problems that affect health; and (2) according to the trial program, the trial group had a higher level of environmental health literacy and environmental arrangement behavior than those who did not receive the program. The post-trial phase ended immediately and the follow-up period was statistically significant at .01 and the trial group was in different areas. There were no differences in environmental health literacy scores and environmental arrangement behaviors were statistically significant at a level of .01. 
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายคือ 1) ศึกษาบริบทชุมชน สภาพปัญหา และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และ (2) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วยการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ในระยะที่ 1 ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพก่อนการทดลองเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการร่างโปรแกรม และระยะที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพอีกครั้งเพื่อสนับสนุนผลการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม แบบวัดพฤติกรรมการจัดสภาพแวดล้อม และโปรแกรมฯ โดยทดลองใช้โปรแกรมในกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน ที่เป็น อสม.ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และยโสธร ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนส่วนใหญ่มีผู้ดูแลอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นลูกหลานหรือเขยสะใภ้ มีเพียงบางบ้านที่มีแค่ผู้สูงอายุอยู่ด้วยกันเอง และจากการสังเกตบ้านที่มีผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงจะมี อสม.ช่วยดูแลร่วมด้วย รูปแบบการทำงานของ อสม. มี 2 รูปแบบใหญ่ คือ 1) การทำงานแบบเป็นทางการตามหน้าที่รับผิดชอบของ อสม.ที่กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนงานไว้ ได้แก่ การเยี่ยมบ้านอย่างน้อยเดือนละ 4 ครั้ง และ 2) การทำงานที่ไม่เป็นทางการ ใช้ลักษณะความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือดูแล เช่น ความเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง ความเป็นญาติพี่น้อง และการเกื้อกูลอนุเคราะห์ผู้สูงอายุบางบ้านที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมในบ้าน ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ และปัญหาด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และ (2) จากการทดลองโปรแกรมพบว่า อสม.ที่ได้รับโปรแกรม มีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ทั้งในระยะหลังการทดลองสิ้นสุดทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ อสม.ในพื้นที่ต่างกันที่ได้รับโปรแกรมฯ มีคะแนนความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการจัดสภาพแวดล้อมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1971
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591120046.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.