Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1953
Title: KNOWLEDGE DISSEMINATION FOR GENERATION Z ON PREVENTING COVID-19 AND THE NEW NORMAL BY MEANS OF CREATIVE DANCE
การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่ สู่เจเนอเรชันซีโดยใช้นาฏศิลป์สร้างสรรค์
Authors: NATTHAPHATCHARA PUANGSUK
ณัฏฐพัชร ปวงสุข
Dharakorn Chandnasaro
ธรากร จันทนะสาโร
Srinakharinwirot University
Dharakorn Chandnasaro
ธรากร จันทนะสาโร
dharakorn@swu.ac.th
dharakorn@swu.ac.th
Keywords: นาฏศิลป์สร้างสรรค์
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
ฐานวิถีชีวิตใหม่
เจเนอเรชันซี
ศิลปะการแสดง
การออกแบบสื่อสำหรับวัยรุ่น
Creative dance
Novel Coronavirus infection
New Normal
Generation Z
Performing arts
Media design for teenagers
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of the research are as follows: (1) to create learning media for disseminating methods for self-protection from the novel Coronavirus disease and the ‘new normal’ through creative dance among members of Generation Z on social media; and (2) to measure their cognition and satisfaction after watching creative dances on social media. The qualitative research model in combination with quantitative research was used in this research. The sample group consisted of 400 members of Generation Z. The results revealed the following: (1) the design and dissemination of preventive methods for novel Coronavirus infections and the ‘new normal’ by using creative dance, divided into eight components: acting roles, actors, movement styles, clothing, music, venues, and equipment. The approach is based on the knowledge of communication arts in the form of videos on Facebook and applied in the creation and development of creative dance into online media formats; and (2) cognitive measurements before and after viewing, as well as satisfaction, which revealed that the cognition before viewing had a mean cognition of 15.14 and a mean of cognition of 21.53 after viewing. The average cognitive scores after viewing were significantly different and higher than before viewing at a level of .05. In addition, the samples showed overall satisfaction at a mean of 4.90 or the highest level. An interesting result was that the design of the movement style was based on everyday movement as the basis for design, one that is not complex or easy to understand for the accuracy of important content. It was found that dance could enhance knowledge and understanding of content and a tool to respond to entertainment. Therefore, this research is knowledge integration with creative dance in order to build the value of creative dance, knowledge enhancement and understanding, as well as improving quality of life. 
งานวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1. เพื่อสร้างนาฏศิลป์สร้างสรรค์สำหรับการเผยแพร่วิธีการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับเจเนอเรชันซีในโซเชียลมีเดีย และ 2. เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจและความพึงพอใจหลังรับชมนาฏศิลป์สร้างสรรค์จากกลุ่มคนเจเนอเรชันซีในโซเชียลมีเดียมีเดีย ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผสมผสานกับงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ คนเจเนอเรชันซีจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การออกแบบการเผยแพร่วิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และฐานวิถีชีวิตใหม่สู่เจเนอเรชันซีโดยใช้นาฏศิลป์สร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 8 องค์ประกอบ คือ บทบาทการแสดง นักแสดง ลีลาการเคลื่อนไหว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ดนตรีประกอบการแสดง สถานที่ประกอบการแสดง และอุปกรณ์ประกอบการแสดง สำหรับกระบวนการสร้างและพัฒนางานนาฏศิลป์สร้างสรรค์สู่รูปแบบสื่อออนไลน์ใช้แนวทางจากองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ ในรูปแบบวิดีโอที่เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก และ 2. การวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการรับชมรวมไปถึงความพึงพอใจหลังการรับชม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจก่อนการรับชมนาฏศิลป์สร้างสรรค์ที่ค่าเฉลี่ย 15.14 และหลังการรับชมมีความรู้ความเข้าใจที่ค่าเฉลี่ย 21.53 โดยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจหลังรับชมมีความแตกต่างกันและสูงกว่าก่อนรับชม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแสดงความพึงพอใจหลังรับชมอยู่ที่ภาพรวมที่ค่าเฉลี่ย 4.90 อยู่ในระดับมากที่สุด การอภิปรายผลที่น่าสนใจ พบว่า การออกแบบลีลาการเคลื่อนไหวโดยใช้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) มาเป็นหลักในการออกแบบลีลาการเคลื่อนไหว เนื่องจากมีลีลาการเคลื่อนไหวที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อความถูกต้องของเนื้อหาสำคัญที่ต้องการจะสื่อสาร และยังพบว่า นาฏศิลป์สามารถเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่สื่อสารมากกว่าเป็นเครื่องมือสนองความบันเทิงเพียงเท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยเรื่องนี้ จึงเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้นาฏศิลป์สร้างสรรค์เป็นแม่แบบ เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าในงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมไปถึงการผลักดันคุณภาพชีวิตของคนในสังคมในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1953
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130158.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.