Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1929
Title: ADMINISTRATIVE FACTORS AND QUALITY CULTURE  FACTORS AFFECTING EXCELLENCE SCHOOL OF SCHOOL UNDER SAMUT PRAKAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต1
Authors: SONGPORN UDONPHAN
ทรงพร อุดรพันธ์
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
Srinakharinwirot University
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantarat@swu.ac.th
jantarat@swu.ac.th
Keywords: ความเป็นเลิศของสถานศึกษา
ปัจจัยทางการบริหาร
ปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพ
excellence school
administrative factors
quality culture factors
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the level of administrative factors, quality culture factors and the level of excellence in schools under the authority of the Samut Prakan Primary Educational Service Area, Office One; (2) to study the relationship of administrative factors and quality cultural factors with excellence in these schools; and (3) to study the administrative factors and quality culture factors affecting excellence in these schools. The sample consisted of 37 school administrators and 290 teachers. The tools used for data collection was a rating scale questionnaire. The second part of the questionnaire is administrative factors had a confidence value of 0.985, and the third part of the questionnaire is quality culture factors had a confidence value of 0.957, and an entire confidence value of 0.984. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results were as follows: (1) the level of administrative factors in these schools were at a high level overall. In terms of each aspect, it was found that it was at the highest level in two aspects and a high level in four aspects. The aspect with the highest mean was the learning process, followed by academic leadership, organizational strategy, school administration structure, process management, and parental participation had the lowest average. The level of quality culture factors was also at a high overall level and each aspect was at a high level. The aspect with the highest average was teamwork and personnel development, while motivating performance had the lowest average. The overall level of excellence at these schools were at the highest level. In terms of each aspect, it was found to be at the highest level in two aspects and the highest in two aspects. The aspect with the highest average was teacher quality and educational personnel, followed by teaching quality and learner quality, with the lead quality at the lowest average; (2) administrative factors and excellence of these schools had a positive relationship at a high level and a statistical significance of .05. Overall, there was a statistically high level of positive correlation at a level of .05, and a statistically significant high level of positive correlation at a level of .05; (3) administrative factors and quality cultural factors were able to predict the excellence of these schools at 72.20% and a statistical significance of .05. The administrative factors of learning process management had the most effect with a statistical significance of .05, followed by administrative factors in terms of organizational strategy, quality culture factors in teamwork and quality culture factors in motivating work performance, respectively.
     การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหาร ปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพและระดับความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต1 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพกับความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 37คน ครูและบุคลากร จำนวน 290  คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยแบบสอบถามตอนที่ 2 ปัจจัยทางการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.985 และแบบสอบถามตอนที่ 3 ปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.957 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยทางการบริหาร ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านกลยุทธ์องค์การ  ด้านโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา  ด้านการจัดการกระบวนการ   ในขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด , ระดับปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ในขณะที่ด้านการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และระดับความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รองลงมา คือ ด้านคุณภาพการเรียนการสอน ถัดมา คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ในขณะที่ด้านคุณภาพการนำ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2) ปัจจัยการทางการบริหารกับความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพกับความเป็นเลิศของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพสามารถร่วมกันพยากรณ์ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ได้ ร้อยละ 72.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยทางการบริหารด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยทางการบริหารด้านกลยุทธ์องค์การ ปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพด้านการทำงานเป็นทีม และปัจจัยวัฒนธรรมคุณภาพด้านการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ  
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1929
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130013.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.