Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1926
Title: THE SERVANT LEADERSHIP OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS THAT AFFECTTHE MOTIVATION OF TEACHER IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICEAREA OFFICE BANGKOK 2
ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Authors: NUTTA PATTAMANUSORN
ณัฎฐา ปัทมานุสรณ์
Somboon Burasirirak
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์
Srinakharinwirot University
Somboon Burasirirak
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์
somboonb@swu.ac.th
somboonb@swu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ
แรงจูงใจในการทำงานของครู
the servant leadership
the motivation of teacher
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the level of the servant leadership among administrators in the Secondary Educational Service Area Office Bangkok Two; (2) to study the motivation levels of teachers; (3) to study the relationship between the servant leadership of administrators and the motivations of teachers; and (4) to study the servant leadership of administrators affecting the motivation of teachers. The samples were 364 teachers in the Secondary Educational Service Area Office Bangkok Two and stratified random sampling was used to calculate the sample size and simple random sampling. The instruments used questionnaires and the Index of Item Objective Congruence was valued at more than 0.60 and the servant leadership of administrators was .953, and the reliability of teacher motivation was at .962. The statistics used for data analysis included mean, percentage, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression. The results were as follows: (1) the overall servant leadership of the administrators in the Secondary Educational Service Area Office, Bangkok Two was at a high level; (2) the overall motivation of teachers was at a high level; (3) the relationship between the servant leadership of administrators and teacher motivation was highly correlated, with a statistical significance of .01 and the correlation coefficients (r) = .721; and (4) the servant leadership of administrators affected teacher motivation with a statistical significance of .05. All of the aspects of the servant leadership of administrators could affect their motivation at 61.50%.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู และ 4) ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 364 คน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามระหว่าง 0.60 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .953 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงานของครู เท่ากับ .962 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยรวมอยู่ระดับมาก  2) ระดับแรงจูงใจในการทำงานของครู โดยรวมอยู่ระดับมาก  3) ภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .721 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และ 4) ภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู ร้อยละ 61.50
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1926
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130008.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.