Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1922
Title: THE EFFECTS OF ORGANIZATION FACTORS ON STUDENT'S SELF-EFFICACY IN ALTERNATIVE SCHOOL
ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก
Authors: PATTAMA THIENLIKIT
ปัทมา เธียรลิขิต
Taweesil Koolnaphadol
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
Srinakharinwirot University
Taweesil Koolnaphadol
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
taweesil@swu.ac.th
taweesil@swu.ac.th
Keywords: ปัจจัยองค์การ
การรับรู้ความสามารถในตนเอง
โรงเรียนทางเลือก
Organizational factors
Self-efficacy
Alternative schools
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are as follows: (1) to study the level of organizational factors at alternative schools; (2) to study the level of student self-efficacy in alternative schools; (3) to study the relationship between organizational factors and student self-efficacy in alternative schools; and (4) to study organizational factors affecting student self-efficacy in alternative schools. The sample of this population in this study was 340 students studying at the secondary level in private schools under the Office of the Private Education Commission (OPEC) or Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation (MHESI), which provides alternative education from philosophies and concepts that differ from mainstream education and assessed by national education standards and quality assessment. The research instruments were five-rating scale questionnaires. The reliability of the instrument was derived from Cronbach’s Alpha at .95 and a statistical checklist data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing used multiple regression analysis and Pearson product moment correlation coefficient summarized the results: (1) the overall organization factors were at a high level. In terms of each aspect, the results indicated they were all at a high level, as follows: class size, school climate, flexible schedule, leadership practice and time of day; (2) overall student self-efficacy in alternative schools was at high level. In terms of each aspect, the results indicated that they were placed at high levels: thought patterns, emotional reaction, choice behavior, effort expenditure and human persistence as producers rather than simply foretellers of behavior; (3) there was a statistically significant positive relationship at .01 between organizational factors and student self-efficacy. The Pearson's correlation coefficient (r) = .778 showed that two variables had a relationship at a high level; and (4) organizational factors including class size, school climate, flexible schedule, and leadership practice affected student self-efficacy with a statistical significance of .01 level. All four aspects of organization factors mutually predicted student self-efficacy with a predictive percentage at 60.60%. The highest predictive power was school climate, class size, flexible schedule and leadership practices. The organizational factors predicted student self-efficacy with a statistical significance at .01 level was the organizational factor of time of day.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยองค์การของโรงเรียนทางเลือก 2) ศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การกับการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่เรียนในระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ที่มีแนวทางในการจัดการศึกษาทางเลือกจากปรัชญาและแนวคิดที่แตกต่างจากการศึกษากระแสหลักในระบบทั่วไปและได้เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)รอบ3 จำนวน 340 คน โดยใช้ตารางกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนโรงเรียนโดยการจับฉลาก และทำการสุ่มตัวอย่างนักเรียนตามสัดส่วนจำนวนประชากรโดยการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนครบตามกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยคัดเลือกข้อคำถามที่มีค่าความสอดคล้อง0.5ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  สหสัมพันธ์พหุคูณ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยองค์การของโรงเรียนทางเลือก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านขนาดของชั้นเรียน ด้านบรรยากาศโรงเรียน ด้านตารางเวลาแบบยืดหยุ่น ด้านภาวะผู้นำ และด้านจำนวนชั่วโมงเรียน 2) การรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านรูปแบบของความคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ด้านพฤติกรรมการใช้ความพยายามและมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านพฤติกรรมการเลือก และด้านพฤติกรรมที่แสดงออกมาของตนเอง 3) ปัจจัยองค์การโดยรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(r) = .778 แสดงว่าตัวแปรปัจจัยองค์การและการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือก มีความสัมพันธ์ในระดับสูง 4) ปัจจัยองค์การด้านบรรยากาศโรงเรียน ขนาดของชั้นเรียน ตารางเวลาเรียนแบบยืดหยุ่น และภาวะผู้นำ สามารถพยากรณ์การรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยตัวแปรปัจจัยองค์การทั้งสี่ด้านสามารถร่วมกันพยากรณ์การรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือกได้ร้อยละ60.60 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยองค์การด้านบรรยากาศโรงเรียนมีอำนาจการพยากรณ์สูงสุด รองลงมาคือ ด้านขนาดของชั้นเรียน ด้านตารางเวลาเรียนแบบยืดหยุ่น ด้านภาวะผู้นำ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยองค์การที่ไม่สามารถพยากรณ์การรับรู้ความสามารถในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนทางเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ได้ คือปัจจัยองค์การด้านจำนวนชั่วโมงเรียน
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1922
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110004.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.