Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1874
Title: | CURRICULUM DEVELOPMENT ENHANCING THE RESEARCH COMPETENCES
OF COMMUNITY LEADER’S THROUGH BLENDED LEARNING: CONVERGENCE OF ONLINE
AND FACE-TO-FACE LEARNING BY USING THE COMMUNITY-BASED APPROACH การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสานสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน |
Authors: | SUTHIMA TEANNGAM สุธิมา เทียนงาม Wilailak Langka วิไลลักษณ์ ลังกา Srinakharinwirot University Wilailak Langka วิไลลักษณ์ ลังกา wilailakl@swu.ac.th wilailakl@swu.ac.th |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to develop community research competency indicators for community leaders; (2) to build a community research competency enhancement curriculum for community leaders; and (3) to evaluate the effectiveness of the aforementioned. It was divided into three phases. Phase 1 was quantitative research to develop community research competency indicators; documents were examined and a focus group of nine senior experts was formed. Phase 2 was qualitative research that explored learning culture and the development needs of community leaders, building community research competency enhancement curriculum using community-based concepts with blended learning and social media. The curriculum quality was verified by quantitative methodology. Phase 3 involved quantitative research for curriculum effectiveness evaluation and nine senior experts implemented the curriculum in a training session with 20 community leaders in Chainat province. They evaluated its effectiveness for community research competency, and satisfaction with the community research competency enhancement curriculum for community leaders. These indicators consisted of: (1) community research knowledge; (2) community research skills; (3) attitudes towards community research; and (4) attributes of community researchers; (2) the community research competency enhancement curriculum aims to enable at enable learning, development and expertise in community research. This enhances the knowledge, skills and attributes to attitude and behavioral changes for research. It has four learning units: (1) building participation and the learning process; (2) research design and problem extraction; (3) community research practice; and (4) data management, analysis, lessons learned and summarization, and research report writing; (3) the community research competency enhancement curriculum was efficient as evidenced by the highest level of utility, suitability, correctness, comprehensiveness, and responsibility and a high level of viability; (4) the post-treatment mean scores of community research competency in three aspects was higher than pre-treatment with a statistical significance level of 0.05. The post-treatment community research skills of community leaders were also at a high level; (5) community leaders had the highest level of satisfaction towards the community research competency enhancement curriculum. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน 3) ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ระยะสำคัญ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการศึกษาการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ระยะที่ 2 ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์วัฒนธรรมการเรียนรู้และความต้องการในการพัฒนาของผู้นำชุมชน และพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน โดยใช้แนวคิดในการใช้ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้การยืนยันคุณภาพของหลักสูตรด้วยวิธีการเชิงปริมาณ ระยะที่ 3 ใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน นำหลักสูตรไปอบรมให้กับผู้นำชุมชนจังหวัดชัยนาทจำนวน 20 คน และประเมินประสิทธิผล ประกอบด้วย สมรรถนะการวิจัยชุมชน และความพึงพอใจต่อการอบรมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ผลการวิจัย พบว่า 1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยชุมชน 2) ทักษะการวิจัยชุมชน 3) เจตคติต่อการทำวิจัยชุมชน และ 4) คุณลักษณะของนักวิจัยชุมชน 2. หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้นำชุมชนได้เรียนรู้และพัฒนา มีประสบการณ์ และความชำนาญเกี่ยวกับการทำวิจัยชุมชน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม ให้สามารถปฏิบัติการวิจัยชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้กับชุมชน 2) การสกัดโจทย์วิจัยและออกแบบงานวิจัย 3) การปฏิบัติการวิจัยชุมชน 4) การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ การถอดบทเรียน สรุปบทเรียน และการเขียนรายงานวิจัย 3. หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน มีประสิทธิภาพในด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้องคลอบคลุม และความรับผิดชอบ ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ในระดับมาก 4. ผลการประเมินสมรรถนะการวิจัยชุมชนของผู้นำชุมชน พบว่า ผู้นำชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการวิจัยชุมชนโดยรวมหลังการอบรมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง ด้าน 3 คือ ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยชุมชน เจตคติต่อการทำวิจัยชุมชน คุณลักษณะของนักวิจัยชุมชน สำหรับทักษะการวิจัยชุมชนพบว่าหลังอบรมผู้นำชุมชนมีทักษะการวิจัยชุมชนในระดับมาก 5. ผู้นำชุมชนมีความพึงพอใจต่อการอบรมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ในระดับมากที่สุด |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1874 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601150030.pdf | 7.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.