Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/186
Title: CUSTOMER’S SERVICE USAGE BEHAVIOR AT SMEs COFFEE SHOP IN BANGKOK METROPOLITAN AREA
พฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟขนาดย่อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: BUDSAYARAK NUGSEANG
บุษญารักษ์ นักเสียง
Nak Gulid
ณักษ์ กุลิสร์
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: พฤติกรรมการใช้บริการ
รูปแบบการดำเนินชีวิต
ร้านกาแฟ SMEs
consumer behavior
AOI
Coffee Shop
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to study customer service usage behavior at stand – alone coffee shops in the Bangkok metropolitan area. It focused on the demographic characteristics and the life style factors that influenced usage behavior at stand – alone coffee shops in the Bangkok metropolitan area. The sample size of this study consisted of four hundred consumers. The data was obtained through a questionnaires. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and the Product Moment Pearson Correlation Coefficient. The statistically information was processed by computer software. The findings of this study were as follows : With respect to the demographic characteristics, most of respondents were female, aged between twenty four to thirty two years old, held a Bachelor’s degree or below, single, employed of private companies and received average monthly income of a minimum of 41,000 THB. The results of the hypotheses testing were as follows:(1)Customers of differing genders and occupation had different usage behaviors at stand – alone coffee shops in terms of buying frequency and expenses was at a statistically significant level of 0.01. (2) Customers of different ages and educational levels had different usage behaviors at stand – alone coffee shops in terms of usage frequency at statistically significant levels of 0.01 and 0.05 respectively. (3) Lifestyle factors such as activity, interest and opinion were positively correlated with usage behavior at stand – alone coffee shop at a low and a moderate level at a statistically significant level of 0.01
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงลักษณะด้านประชากรศาสตร์ รูปแบบการดำเนินชีวิต ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟขนาดย่อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่าลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 24 – 32 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน / ห้างร้าน และมีรายได้เฉลี่ย 41,000 บาทขึ้นไปผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้บริโภคที่มีเพศ และอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟขนาดย่อมด้านความถี่ในการซื้อเครื่องดื่ม และค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้บริโภคที่มีอายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟขนาดย่อมด้านความถี่ในการใช้บริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ผู้บริโภคที่มีรายได้แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟขนาดย่อมด้านความถี่ในการใช้บริการ และด้านความถี่ในการซื้อเครื่องดื่มแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย กิจกรรม ความสนใจและความคิดเห็น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟขนาดย่อมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ในทิศทางเดียวกัน ในระดับต่ำและระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/186
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571130202.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.