Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1782
Title: THE EFFECT OF RESILIENCE PROGRAM WITH GROWTH MINDSET ON STRESS AMONG UNDERGRADUATE STUDENTS
ผลของโปรแกรมความเข้มแข็งทางใจโดยใช้วิธีการกรอบความคิดแบบเติบโตที่มีต่อความเครียดของนักศึกษาปริญญาตรี
Authors: PIYAWAT PONJUNTIK
ปิยะวัฒน์ พลจันทึก
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
Srinakharinwirot University
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
sittipongw@swu.ac.th
sittipongw@swu.ac.th
Keywords: ความเข้มแข็งทางใจ
ความเครียด
กรอบความคิดแบบเติบโต
Resilience
Stress
Growth Mindset
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This quasi-experimental research design aims to develop a resilience program using a growth mindset approach for reducing stress among undergraduate students and to compare the posttest stress scores of the control and experimental groups. A total of 40 samples were obtained by using the framework of Cohen (1988) to determine the effect size and divided into 20 control groups and 20 in the experimental group. The subjects consisted of first to fourth year Bachelor's degree students at a public university. The instrument used in the research consisted of two parts: (1) the program used in the experiment was the Resilience Program and the program used in the control group was the Social Support Program with a group process; and (2) the questionnaires used to collect data consisted of the basic information. The Resilience Inventory had 28 items and had a reliability. of 952 and the Thai Stress Test of 24 items had a reliability.963. In this data analysis, a t-test for the independent sample was used to test the hypothesis and a software package was used to analyze the data. The results of the comparison of the differences in stress scores between the control group and the experimental group had significance (p < .05)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจโดยใช้วิธีการกรอบความคิดแบบเติบโตที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเครียดหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจโดยใช้วิธีการกรอบความคิดแบบเติบโตของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 คน ได้จากการใช้สูตรของ Cohen’s (1988) เพื่อกำหนดค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size)โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น กลุ่มควบคุม 20 กลุ่มทดลอง 20 เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 – 4 ของมหาวิทยาลัยภาครัฐแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. โปรแกรมที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจ(ใช้ในกลุ่มทดลอง) โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่ม(ใช้ในกลุ่มควบคุม) 2. แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ส่วนของข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ (Resilience Inventory) จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเที่ยง .952 และแบบวัดความเครียดสำหรับคนไทย (Thai Stress Test) จำนวน 24 ข้อ มีค่าความเที่ยง .963 ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้สถิติค่าทีแบบอิสระต่อกัน (T-Test for Independent Sample) เพื่อทดสอบสมมติฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความเครียดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจ พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีคะแนนความเครียดโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < .05)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1782
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130247.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.