Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1780
Title: A CAUSAL MODEL OF ADJUSTMENT OF TOURISM EMPLOYEES DURING COVID-19 PANDEMIC: THE MEDIATION ROLE OF COPING  
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการปรับตัวของพนักงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Authors: THITIPORN SHAWONG
ฐิติพร ชาวงษ์
Pitchada Prasittichok
พิชชาดา ประสิทธิโชค
Srinakharinwirot University
Pitchada Prasittichok
พิชชาดา ประสิทธิโชค
pitchada@swu.ac.th
pitchada@swu.ac.th
Keywords: การปรับตัว
การรับรู้ความเครียด
การเผชิญปัญหา
โควิด - 19
การท่องเที่ยว
Adjustment
Perceived Stress
Coping
COVID
Tourism
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are to study a causal model of adjustment during COVID-19 period which fit the empirical data; (2) to study the effect of perceived stress and adjustment mediation in terms of the coping skills of tourism employees during COVID-19. The researcher employed a descriptive analysis by SPSS.  The data was analyzed to test the hypotheses using structural equation modeling. A conceptual framework was developed from the Transactional Model of Stress and Coping (Lazarus & Folkman, 1984). The sample consisted of 200 tourism employees between 20-55 years of age, using stratified sampling in five regions of Thailand, the central, east, northeast, south, and north regions, as governed by Tourism Authority of Thailand. The Cronbach's alpha was high at 0.8-0.9. A causal model of adjustment during COVID-19 fit with the empirical data (χ2=5.64, df=4, p=0.22, CFI=0.99, TLI=0.96, SRMR=0.022, RMSEA=0.03 χ2/df=1.412 p-value<0.05). Perceived stress did not have a significant effect on adjustment (p-value>0.05) but have an indirect mediating effect on coping at a statistically significant of level of 0.444 and a significance level at 0.05 among tourism employees during the COVID-19 pandemic.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างของปัจจัยเชิงสาเหตุมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของพนักงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาการรับรู้ความเครียดมีอิทธิพลต่อการปรับตัวโดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านในพนักงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยการวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยายโดยโปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง กรอบการวิจัยพัฒนาจากโมเดลกระบวนความเครียดและการเผชิญปัญหา Lazarus & Folkman (1984) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจำนวน 200 คน ซึ่งมีอายุ 20-55 ปี ทั่วประเทศไทย จำนวน 5 ภาคคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ ตามการปกครองของกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.8-0.9 โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของพนักงานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=5.64, df=4, p=0.22, CFI=0.99, TLI=0.96, SRMR=0.022, RMSEA=0.03 χ2/df=1.412 p-value<0.05)  การรับรู้ความเครียดไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อการปรับตัว (p-value>0.5) แต่มีอิทธิพลทางอ้อมที่ระดับ 0.444 โดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่านโดยมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05  ในพนักงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1780
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130243.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.