Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1769
Title: THE EFFECT OF COUNSELING PROGRAM WITH GROWTH MINDSET ON UNIVERSITY STUDENT RESILIENCE
ผลของโปรแกรมการปรึกษาร่วมกับแนวคิดการเติบโตที่ส่งผลต่อการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Authors: NUCHNAPA WARUNWUTTHI
นุชนภา วรุณวุฒิ
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
Srinakharinwirot University
Sittipong Wattananonsakul
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล
sittipongw@swu.ac.th
sittipongw@swu.ac.th
Keywords: การฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยา
กรอบแนวคิดเติบโต
แนวคิดการเติบโต
การรับรู้ความสามารถของตนเอง
ความสัมพันธ์ทางสังคม
ภูมิคุ้มกันทางจิต
นักศึกษามหาวิทยาลัย
โปรแกรมการให้คำปรึกษา
resilience
growth mindset
self-efficacy
social relationship
counseling program
university students
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The late adolescent university students encounter many adversities during their university years. The adjustment to the new environment, the increase in academic responsibilities and workload, and concern over the finances increase the risk of stress, anxiety, feeling of fear, and psychological disorders among university students. This study aims to investigate the effects of a counseling program with growth mindset in the enhancement of university student resilience.  A significant body of research has shown that resilience is one of the protective factors supporting individuals during this adverse time. The present study is a quasi-experimental design with a pre-test and post-test resilience assessment. The participants were third-year university students studying in the Faculty of Education and the Faculty of Humanities who felt stress and anxiety about their life and academic situation and willing to either participate in a group counseling or do the pre-test and post-test on resilience only. They were conveniently selected on a volunteer basis. The 46 participants were divided into two groups, 23 in the intervention group and 23 in the control group. The intervention group were further divided into three groups with seven to eight participants in each group. Then the intervention group did the pre-tes before receiving the six sessions of resilience enhancement counseling daily for six days per week, while the control group proceeded with their daily activities. The post-test was administered after the last session of each counseling group. The control group did the post-test in three-to-four-week interval. The independent t-test and the paired sample t-test were used to analyze the resilience assessment data. The results showed that the counseling program with growth mindset significantly increased university student resilience. The post resilience score of the intervention group shown a significant increase of .001 compared, to the pre resilience score and comparing the post resilience scores between the intervention group and the control group, the intervention group had a significantly higher score at .01.
นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายต้องเผชิญกับความทุกข์ยากมากมายระหว่างศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ความรับผิดชอบในการเรียนที่เพิ่มขึ้น ปริมาณงานและการบ้านที่มากขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงิน ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกกลัว อันนำมาซึ่งการมีปัญหาด้านสุขภาพจิตของนักศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาร่วมกับแนวคิดการเติบโตในการเสริมสร้างการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาของนักศึกษามหาวิทยาลัย จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาเป็นหนึ่งในปัจจัยป้องกันและสนับสนุนให้บุคคลสามารถจัดการกับความทุกข์ยากและผ่านช่วงเวลานั้นได้ ผู้เข้าร่วมวิจัยคือนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ที่มีความเครียดและวิตกกังวลกับการดำเนินชีวิตและผลการเรียน ซึ่งนักศึกษาทุกคนอาสาที่จะเข้าร่วมกลุ่มการให้คำปรึกษา โดยการสุ่มตามความสะดวก (convenience sampling) จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 23 คน จากนั้นแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 3 กลุ่มย่อย มีผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มละ 7-8 คน ผู้วิจัยได้ทำการวัดค่าการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาก่อนให้คำปรึกษา โดยกลุ่มทดลองทำแบบทดสอบก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษา และเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาใช้เวลาทั้งหมด 6 วัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมตามปกติ หลังเสร็จการให้คำปรึกษา ผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละกลุ่มทำแบบทดสอบการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาอีกครั้ง โดยกลุ่มควบคุมทำแบบทดสอบครั้งที่ 2 ประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากที่ทำครั้งแรก การวิเคราะห์ข้อมูลการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาใช้การทดสอบสถิติที่ (t-test) และเปรียบเทียบจับคู่สิ่งทดลอง (paired sample t-test) ผลการวิจับพบว่าคะแนนการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาร่วมกับแนวคิดการเติบโตช่วยเพิ่มการฟื้นคืนได้ทางจิตวิทยาของนักศึกษามหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการฟื้นคืนไดัทางจิตวิทยาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1769
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130212.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.