Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1713
Title: CHANGES IN THE FEMALE JUDGE PROFESSION IN THAI SOCIETY 1954 - 2020
ความเปลี่ยนแปลงในอาชีพผู้พิพากษาสตรีในสังคมไทย พ.ศ. 2497 - 2563
Authors: PHAPIMON INGKAVARA
ภาพิมล อิงควระ
Dome Kraipakron
โดม ไกรปกรณ์
Srinakharinwirot University
Dome Kraipakron
โดม ไกรปกรณ์
dome@swu.ac.th
dome@swu.ac.th
Keywords: ผู้พิพากษาสตรี
ประวัติศาสตร์ไทย
Female judges
Thai history
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This thesis aims to study the history of female judges in Thai society from 1954 to 2020, explaining the changes to the profession of female judges in Thai society and the factors of and problems with female judges. The findings of this research are that the history of Thai female judges could be classified into three periods: (1) the first period, in which Thai society gave Thai women the opportunity to become female Judges was from 1953 to 1974. The main factors in this period were the woman’s rights movement and the support of the United Nations. However, female judges in this first period were limited exclusively to the juvenile court; (2) in the second period, female judges were appointed to every court, except the Supreme Court, from 1974 to 1992.  The main factors in this period were Thai politics and the support of the United Nations; and (3) in the third period, in which female judges could become President of the Supreme Court, from 1992 to 2020. This major change was caused by factors in Thai society such as gender equality and external factors, such as the influence of the United Nations. However, the truly important factors causing the female judges become the President of the Supreme Court were the merit system and the senior system in the Ministry of Justice.     
ปริญญานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีในสังคมไทยตั้งแต่พ.ศ. 2497-2563 โดยอธิบายให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในอาชีพผู้พิพากษาของสตรีในสังคมไทย  รวมทั้งปัญหาในอาชีพนี้และปัจจัยของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์การประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีในสังคมไทยแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้ 1)   ช่วงพ.ศ. 2497-2517 ซึ่งเป็นช่วงแรกของประวัติศาสตร์ที่สตรีได้ประกอบอาชีพผู้พิพากษา หลังจากที่ได้ปิดกั้นมานาน ไม่ให้สตรีเป็นผู้พิพากษา  สาเหตุที่มีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเป็นผู้พิพากษามาจากปัจจัยภายในสังคมไทยคือ การเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของสตรีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีปัจจัยภายนอกคือ อิทธิพลขององค์การสหประชาชาติเป็นปัจจัยหนุน อย่างไรก็ตามการประกอบอาชีพผู้พิพากษาของสตรีในช่วงเวลานี้กำหนดให้ทำหน้าที่ได้เฉพาะในศาลคดีเด็กและเยาวชนเท่านั้น  2) ช่วงพ.ศ. 2517-2535 ซึ่งมีการขยายพื้นที่ให้ผู้หญิงเป็นผู้พิพากษาในศาลเกือบทุกประเภท ยกเว้นศาลฎีกา ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้มีที่มาจากปัจจัยการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีปัจจัยจากภายนอกคือ อิทธิพลขององค์การสหประชาชาติเป็นปัจจัยหนุน  3) ช่วงพ.ศ. 2535-2563 ซึ่งมีการเปิดพื้นที่ให้สตรีขึ้นไปทำหน้าที่ในศาลฎีกา โดยในปีพ.ศ. 2563 ได้มีผู้พิพากษาสตรีขึ้นดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้มีที่มาจากปัจจัยภายในของสังคมไทยคือ กระแสการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในประเด็นสิทธิความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งมีปัจจัยจากภายนอกคือ อิทธิพลขององค์การสหประชาชาติเป็นปัจจัยหนุน  อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่แท้จริงที่ทำให้ผู้พิพากษาสตรีขึ้นสู่ตำแหน่งประมุขของผู้พิพากษาได้นั้นมาจากระบบคุณธรรมและระบบอาวุโสที่ใช้ในกระทรวงยุติธรรม  
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1713
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110119.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.