Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1690
Title: THE EFFECT OF ORGANIZING LEARNING USING REALISTIC  MATHEMATICS EDUCATION ABOUT RATIO AND PERCENTAGE ON  MATHEMATICAL PROBLEM-SOLVING ABILITY AND MATHEMATICS  LEARNING ACHIEVEMENT OF MATHAYOMSUKSA I STUDENTS
ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง  เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: NUANPRAPHAT GONPHILA
นวลประภัสสร์ ก้อนพิลา
Sukanya Hajisalah
สุกัญญา หะยีสาและ
Srinakharinwirot University
Sukanya Hajisalah
สุกัญญา หะยีสาและ
sukanyah@swu.ac.th
sukanyah@swu.ac.th
Keywords: แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
Realistic Mathematics Education (RME)
Mathematical problem-solving ability
Mathematics learning achievement
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are to compare mathematical problem-solving ability with regard to the ratio and percentage using Realistic Mathematics Education (RME) with the criterion and to compare the mathematics learning achievement students about ratio and percentage by using RME with another criterion. The subjects who satisfied the criterion had 70% of the total scores. The participants in the study were Mathayomsuksa One students from Satrirachinuthit School in the second semester of 2021 academic year. The sample group consisted of 36 students. The research instruments in this study consisted of lesson plans using RME, a mathematical problem-solving ability test and achievement test on ratio and percentage. The results of the study, after being taught with RME were as follows: (1) the students with mathematical problem-solving abilities with regard to ratio and percentage and satisfied the criterion were more than 70% of the total students at a level of .05; and (2) the students with mathematics learning achievement on ratio and percentage and satisfied another criterion were more than 70% of the total students and were at a level of .05.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงกับเกณฑ์ และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงกับเกณฑ์ โดยการวิจัยครั้งนี้กำหนดเกณฑ์การผ่าน คือ ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ผ่านเกณฑ์มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ผ่านเกณฑ์มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1690
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611110175.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.