Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1681
Title: A STUDY OF PSYCHOSOCIAL FACTORS RELATED TO MINDFUL RISK-TAKING BEHAVIORS FOR CONSUMING BEAUTY SUPPLEMENTS OF EARLY ADULTHOOD WITH OVERWEIGHT
การศึกษาปัจจัยจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
Authors: NUTCHA IBROHEM
นัฐชา อิบรอเฮม
Shuttawwee Sitsira-at
ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ
Srinakharinwirot University
Shuttawwee Sitsira-at
ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ
rewadee@swu.ac.th
rewadee@swu.ac.th
Keywords: วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
น้ำหนักเกินมาตรฐาน
พฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติ
อาหารเสริมความงาม
Early adulthood
Overweight
Mindful risk-taking behavior
Beauty supplements
Issue Date:  8
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are as follows: (1) to compare mindful risk-taking behavior of beauty supplement consumption among overweight young adults, as categorized by gender, status, income, and occupation; (2) to investigate the relationships between the factors of psychological traits, including ego identity, locus of control, internal locus of control, achievement motivation; situational factors, including the influences of models from media and friends, family support; and psychological situation factors, including positive attitudes toward beauty supplement consumption, readiness to buy beauty supplements, psychological immunity in beauty supplement consumption, and mindful risk-taking behavior of beauty supplements consumption among overweight young adults; and (3) to predict mindful risk-taking behavior in terms of beauty supplement consumption among overweight young adults by using psychological trait factors, situational factors, and psychological situation factors for the whole group and divided by gender, income, occupation and status. The sample included 330 overweight young adults from 18 to 40, and selected by stratified sampling. The statistics for data analysis consisted of mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, and multiple regression analysis. The study revealed the following: (1) female overweight young adults had higher mindful risk-taking behavior in beauty supplement consumption than their male counterparts with a statistical significance level of .01; (2) overweight young adults  with discretionary income had higher mindful risk-taking behavior in beauty supplement consumption than their counterparts with an inadequate income and a statistical significance level of .05; (3) overweight young adults with different statuses and occupations did not have differences in mindful risk-taking behaviors on beauty supplement consumption; (4) all of the nine variables were positively correlated with mindful risk-taking behavior of beauty supplement consumption with a statistical significance level of .01; and (5) all nine variables were able to jointly predict mindful risk-taking behavior in beauty supplement consumption by 45%. The first variable to predict mindful risk-taking behavior in beauty supplement consumption among overweight young adults was psychological immunity in beauty supplement consumption, followed by ego identity, achievement motivation, and locus of control respectively.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย(1)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เมื่อจำแนกตาม เพศ สถานภาพ รายได้ อาชีพ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตลักษณะเดิม ได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน มุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยสถานการณ์ ได้แก่ อิทธิพลของตัวแบบจากสื่อและเพื่อน การสนับสนุนจากครอบครัว และปัจจัยจิตตามสถานการณ์ ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหารเสริมความงาม ความพร้อมซื้ออาหารเสริมความงาม ภูมิคุ้มกันตนทางจิตในการบริโภคอาหารเสริมความงาม กับพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และ (3) เพื่อทำนายพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานโดยใช้ปัจจัยจิตลักษณะเดิม ปัจจัยสถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ในกลุ่มรวม และเมื่อจำแนกตามเพศ สถานภาพ รายได้ อาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอายุ 18-40 ปี จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพศหญิง   มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามที่สูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่มีรายได้เหลือเก็บมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามสูงกว่ารายได้ไม่พอใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) วัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่มีสถานภาพ และอาชีพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามไม่แตกต่างกัน และ (4) ตัวแปรทั้งหมด 9 ตัวแปร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงาม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01และ (5) ตัวแปรทั้งหมด 9 ตัวแปร ร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงาม ได้ร้อยละ 45.0. โดยตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติในการบริโภคอาหารเสริมความงามในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นอันดับแรก คือ ภูมิคุ้มกันตนทางจิตในการบริโภคอาหารเสริมความงาม รองลงมาได้แก่ เอกลักษณ์แห่งตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และมุ่งอนาคตควบคุมตน ตามลำดับ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1681
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130090.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.