Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/167
Title:  APPLICATION OF FISCAL INSTRUMENTS FOR  THE UTILIZATION OF IDLE LAND  IN THAILAND
การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการคลังเพื่อการนำที่ดินทิ้งร้าง ในประเทศไทยไปใช้ประโยชน์
Authors: ANGKANA THANANUPAPPUN
อังคณา ธนานุภาพพันธุ์
Chompoonuh Permpoonwiwat
ชมพูนุท เพิ่มพูนวิวัฒน์
Srinakharinwirot University. School of Economics and Public Policy
Keywords: ภาษีทรัพย์สิน การถือครองที่ดิน ที่ดินทิ้งร้าง
property tax land holdings vacant land
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research is concerned with the study of fiscal instruments for redistributing land ownership in Thailand. The aim of this study  was to analyze  land use in Thailand and to evaluate the economic losses caused by vacant  land. This research also reviewed some of the fiscal instruments  related to land taxation. Based on the GIS database in 2015,which was provided by the Land Development Department  to analyze land use and the characteristics of each region and province. It was found that, over the last eight years, the rate of vacant land in Thailand has been in decline. The largest area of vacant land was in the northeast, while the Ubonratchathani  province  used this land  the least. Most of the vacant  land was agricultural. When the vacant land was assessed in terms of economic losses, it was currently found that Thailand had inefficient  land use for agricultural, commercial, industrial and residential areas. If  these  areas are used more effectively, it can increase the value of land use by 4.41 percent of the GDP, which represents the amount of opportunity cost from using land ineffectively at about 640,440 million Baht. The recently-used land taxation, e.g. local administration tax, still results in the concentration of land possession, which indicates the ineffectiveness of tax instruments. Therefore, the government should use other types of land taxes, such as wealth tax and land and buildings taxes in order to decrease the rate of uncultivated or vacant land possession. This study, however, has only proven that wealth taxes were sufficient to stimulate the use of  this vacant land.
การศึกษาเรื่องการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการคลังเพื่อการกระจายการถือครองที่ดินในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทของประเทศไทย  ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการทิ้งร้างที่ดินว่างเปล่าในประเทศไทย   วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการถือครองที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่าในประเทศไทย  รวมถึงการศึกษานโยบายภาษีทรัพย์สินที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่าในประเทศไทย   ในการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินอาศัยฐานข้อมูล GIS ของกรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2558  มาจำแนกตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ที่ดิน แยกเป็นรายภาคและรายจังหวัด  ผลการศึกษาพบว่า  ที่ดินทิ้งร้างของประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2543 – 2559 มีแนวโน้มลดลง   โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่ามากที่สุด   และจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินน้อยที่สุดในประเทศไทย   พื้นที่ทิ้งร้างส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร   เมื่อได้นำพื้นที่ทิ้งร้างว่างเปล่ามาประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจพบว่า  ที่ดินในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์ที่ดินยังไม่เต็มที่  ทั้งที่ดินเพื่อการเกษตร  ที่ดินเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม  รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อใช้อยู่อาศัย  ซึ่งหากนำพื้นที่ทิ้งร้างว่างเปล่าเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพแล้วผลจากการคำนวณพบว่า   สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินทิ้งร้างดังกล่าวได้ร้อยละ 4.41 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ  หรือคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ  640,440  ล้านบาท  แสดงถึงค่าเสียโอกาสจากการนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทย  นอกจากนี้จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการถือครองที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่าในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาที่ดิน   ปัจจัยที่ทำให้ที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่าลดลง ได้แก่ ความหนาแน่นของประชากร  การลงทุนของจังหวัด   สำหรับมาตรการทางภาษีทรัพย์สินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือภาษีบำรุงท้องที่เป็นเครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  เนื่องจากยังคงก่อให้เกิดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน  และมีค่าเสียโอกาสจากที่ดินที่ทิ้งร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์สูง   หากภาครัฐได้ทำการพัฒนาหรือปรับปรุงเครื่องมือทางภาษีที่ดินรูปแบบอื่น เช่น  ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีความมั่งคั่งมาบังคับใช้แล้วอาจส่งผลต่อการลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน  แต่อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า  ภาษีความมั่งคั่งเป็นเครื่องมือภาษีที่มีผลต่อการลดลงของการถือครองที่ดินทิ้งร้างว่างเปล่าในประเทศและมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินทิ้งร้างเพิ่มมากขึ้น
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/167
Appears in Collections:School of Economics and Public Policy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs541120101.pdf9.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.