Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1657
Title: | ONLINE SOCIAL MEDIA LITERACY SKILLS OF UNDERGRADUATES
IN AUTONOMOUS UNIVERSITIES IN BANGKOK ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | SIRIKARN JANWITCHANO ศิริกาญจน์ จันทร์วิชโน Vipakorn Vadhanasin วิภากร วัฒนสินธุ์ Srinakharinwirot University Vipakorn Vadhanasin วิภากร วัฒนสินธุ์ vipakorn@swu.ac.th vipakorn@swu.ac.th |
Keywords: | ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สื่อสังคมออนไลน์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี Media literacy skills Social media Undergraduates |
Issue Date: | 8 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purposes of this research are as follows: (1) to study the behavior of using social media among undergraduates in autonomous universities in Bangkok; (2) to assess the social media and literacy skills of undergraduates in autonomous universities in Bangkok; and (3) to compare the social media literacy skills of undergraduates in autonomous universities in Bangkok and classified by gender, educational year and level, GPA and parental income. By using quantitative research methods, the sample group in this research consisted of 400 undergraduates in autonomous universities in Bangkok. The data collection tools included quota sampling and social media literacy skill quizzes. The statistics used for data analysis were frequency, mean, percentage standard deviation and the testing of the hypothesis with a t-test and an f-test at a .05 level of statistical significance. The results revealed the following: (1) most of the students used social media for six to ten hours per day (83.0%) and most accessed social media from 6:00 PM to 9:00 PM (76.3%). Most of the students used mobile phones or smartphones to access social media (96.5%); (2) the overall media literacy skills of the students were at a medium level. When considering each aspect, their social media literacy skills were at a very good level. When considering each aspect, their social media literacy skills were at a very good level, their analysis skills were at a good level, their creative and evaluation skills were at a medium level and their access skills were at a low level; (3) the analysis of the hypothesis testing revealed that gender did not significantly affect social media literacy skills, while factors such as educational year level, GPA, and parental income significantly impacted social media literacy skills at a .05 level of significance. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ประเมินทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปรเพศ ชั้นปี คะแนนเฉลี่ยสะสม และรายได้รวมของผู้ปกครอง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ T-Test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ 6-10 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 83.0) ส่วนใหญ่เข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ช่วงเวลา 18:00 ถึง 21:00 น. (ร้อยละ 76.3) ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ (ร้อยละ 96.5) (2) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ที่อยู่ในระดับดีมาก คือ ด้านการวิเคราะห์ ระดับดี คือ ด้านการสร้างสรรค์ ระดับปานกลาง คือ ด้านการประเมินค่า และระดับน้อย คือ ด้านการเข้าถึง (3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาจำแนกตามตัวแปรเพศ ระดับชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม และรายได้ผู้ปกครองต่อเดือน พบว่า นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่ชั้นปีต่างกัน มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่างกัน มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีรายได้รวมของผู้ปกครองต่างกัน มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1657 |
Appears in Collections: | Faculty of Humanities |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611130099.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.