Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1637
Title: | WORSHIP OF CHARACTERS FROM RAMAKIEN IN THAI SOCIETY พิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทย |
Authors: | RATTANAPHON CHUENKA รัตนพล ชื่นค้า Panupong Udomsilp ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities |
Keywords: | รามายณะ รามเกียรติ์ พิธีกรรม ตัวละครศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรมการนับถือผีอารักษ์ Ramayana Ramakien rituals sacred spirits guardian-spirit worship |
Issue Date: | 27 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this study is to collect data on various Ramakien characters worshiped in Thai society and to analyze their roles. It aims to analyze how these characters have conceptually developed from fictional characters to sacred spirits. From 2018 to 2021, data was gathered from both field studies and written documents; folklore methodologies were applied to interpretively examine and analyze the data and to present the results in the descriptive analysis style. According to the study, it was revealed that Ramakien character worship existed in ten socio-cultural regions in the Central Thai provinces, including Bangkok, Samut Prakan, Samut Sakhon, Samut Songkhram, Chachoengsao, Prachinburi, Saraburi, Kanchanaburi, Phetchaburi and Prachuap Khirikhan. There are 18 shrines belonging to 14 Ramakien characters: Phra Ram, Phra Lak, Nang Sita, Thotsakan, Kumphakan, Nang Benyakai, Phali, Sukhrip, Hanuman, Ongkhot, Chomphuphan, Matchanu, Thorapha and Thoraphi. There are five communally-worshipped sacred characters and nine rituals: Phra Ram-Phra Lak, Thotsakan, Kumphakan, Hanuman and Matchanu. The nine rituals include typical food offerings, sacred objects/medium procession, gold-leaf gilding, water pouring and spiritual possession. The final results revealed that there are two functional levels: the communal and personal levels. At the communal level, the functions can be divided into six aspects: communal guardians, epidemic elimination, water resource reservation, communal reunification, Thai-Chinese ethnic identity representation and communal entertainment. These functions can be divided into four aspects: spiritual anchor, occupation, illness remedying and fortune contribution. With regard to the conceptual development of the worshiped characters to the sacred spirits; in the case of Phra Ram-Phra Lak, a sacred wood and the relationship between the pillar of Khitkhin City, and the characters included the spatial guardian spirits and Phra Ram-Phra Lak. Thotsakan is related to a Thai classic masked play (Khon) performer, whereas his brother, Kumphakan is related to water irrigation (Kumphakan-Tod-Nam). Hanuman is related to monkeys and place names. Furthermore, Hanuman is related to floating sacred objects or statues of Hanuman, including a connection through mediums. Lastly, Matchanu is related to sacred spirits in the marine community of Ban Rang Khok Kham. There is still a relationship between the sacred inscribed woods and Chao-Pho Pra Ram-Phra Lak’s attendant characters. Besides, the attendant characters under Chao-Pho Pra Ram-Phra Lak are referred to as sacred spirits and the servants of Chao-Pho Lak Muang are sacred spirits. ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษารวบรวมพิธีกรรมการนับถือตัวละครต่างๆ จากเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทย วิเคราะห์บทบาทของพิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทย และวิเคราะห์ วิธีคิดในการเปลี่ยนตัวละครจากนิทานให้เป็นตัวละครศักดิ์สิทธิ์ โดยเก็บข้อมูลภาคสนามระหว่าง พ.ศ. 2561-2564 และข้อมูลจากหนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้กรอบแนวคิดทางคติชนวิทยาในการวิเคราะห์และตีความ แล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์พบในพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พบศาลตัวละครศักดิ์สิทธิ์ รวม 18 ศาล มีตัวละครศักดิ์สิทธิ์ รวม 14 ตัวละคร ได้แก่ พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ นางเบญกาย พาลี สุครีพ หนุมาน องคต ชมพูพาน มัจฉานุ ทรพา และทรพี พบพิธีกรรมการนับถือตัวละครศักดิ์สิทธิ์ในระดับชุมชน 5 ตัวละคร ได้แก่ พระราม-พระลักษณ์ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ หนุมาน และมัจฉานุ รวม 9 พิธีกรรม พบรูปแบบของพิธีกรรม คือ การบวงสรวง การแห่เจว็ด/ เจ้าพ่อ การปิดทองเจว็ด การสรงน้ำเจว็ด และการเข้าทรง ผลการศึกษาบทบาทของพิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทยพบว่า มีบทบาท 2 ระดับ คือ บทบาทในระดับชุมชน แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการปกป้องคุ้มครองคนในชุมชน ด้านการปัดเป่าโรคระบาดออกจากชุมชน ด้านการรักษาแหล่งน้ำของชุมชน ด้านการสร้างความเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกันของคนในชุมชน ด้านการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน และด้านการสร้างความบันเทิงให้แก่คนในชุมชน และบทบาทในระดับบุคคล แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นที่พึ่งทางใจ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการรักษาโรค และด้านการให้โชคลาภ ผลการศึกษาวิธีคิดในการเปลี่ยนตัวละครจากนิทานให้เป็นตัวละครศักดิ์สิทธิ์พบว่า ตัวละครพระราม-พระลักษณ์ คือ การเชื่อมโยงไม้ศักดิ์สิทธิ์คู่กับตัวละครพระราม-พระลักษณ์ การเชื่อมโยงหลักเมืองขีดขินกับตัวละครพระราม และการเชื่อมโยงผีอารักษ์ของพื้นที่กับตัวละครพระราม/ พระลักษณ์ ตัวละครทศกัณฐ์ คือ การเชื่อมโยงศิลปินโขนทศกัณฐ์ที่เสียชีวิตกับตัวละครทศกัณฐ์ ตัวละครกุมภกรรณ คือ การเชื่อมโยงเรื่องกุมภกรรณทดน้ำกับตัวละครกุมภกรรณ ตัวละครหนุมาน คือ การเชื่อมโยงลิงเจ้าที่กับตัวละครหนุมาน การเชื่อมโยงภูมินามสถานที่กับ ตัวละครหนุมาน การเชื่อมโยงวัตถุศักดิ์สิทธิ์ลอยมาทางน้ำกับตัวละครหนุมาน การเชื่อมโยงรูปปั้นกับตัวละครหนุมาน และการเชื่อมโยงกับตัวละครหนุมานผ่านร่างทรง ตัวละครมัจฉานุ คือ การเชื่อมโยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทะเล ชุมชนบ้านรางโคกขามกับตัวละครมัจฉานุ ตัวละครบริวาร คือ การเชื่อมโยงไม้ศักดิ์สิทธิ์กับตัวละครบริวารของเจ้าพ่อพระราม-พระลักษมณ์ การเชื่อมโยงไม้ศักดิ์สิทธิ์กับตัวละครบริวารของเสด็จเจ้าพ่อปู่พระลักษณ์-พระราม การเชื่อมโยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับตัวละครบริวารของเจ้าพ่อพระราม-พระลักษณ์ และการเชื่อมโยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับตัวละครบริวารของเจ้าพ่อหลักเมือง |
Description: | DOCTOR OF ARTS (D.A.) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1637 |
Appears in Collections: | Faculty of Humanities |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611150095.pdf | 37.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.