Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1634
Title: THE CHANGING OF MAHANIKAYA UNDER INFLUENCEOF DHAMMAYUTTIKANIKAYA ON THE SANGHA ACT OF 1902 (BETWEEN A.D. 1902 - 1941)
ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์มหานิกายภายใต้อิทธิพลของธรรมยุติกนิกายในช่วงการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121(พ.ศ. 2445 – 2484)
Authors: SUPREE NANAGARA
สุปรีดิ์ ณ นคร
Dome Kraipakron
โดม ไกรปกรณ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Social Sciences
Keywords: คณะสงฆ์มหานิกาย
ธรรมยุติกวัตร
ธรรมยุติกนิกาย
Maha Nikaya Sangha
Dhammayuttika's pattern
Dhammayuttika Nikaya
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This aim of this dissertation is to study the changes to and the adjustment of the Maha Nikaya Sangha was formed under the influence of the Dhammayuttika Nikaya during the announcement of the Sangha Act of 1902, from 1902 to 1941. As a consequence of the formation of government administration in 1892, the state had a policy to organize education in local cities in 1898. It was the responsibility of the Buddhist monks of Dhammayuttika Nikaya to arrange education, which brought the governance and administrative of Sangha to a serious survey of the local monks. They found that the Buddhist monks of the Maha Nikaya who were very similar in terms of religion and religious traditions. This is especially true of the Dhammayuttika pattern that Wachirayano Bhikkhu presented a concept of establishing Dhammayuttika Nikaya, in which the government accepts and supports the Dhammayuttika Nikaya Sangha, especially when education is organized at the local city level. As a result, the Buddhist monks of Dhammayuttika Nikaya played a part in the rule of the Maha Nikaya Sangha. Until the Sangha Act was announced across the kingdom with the objective of centralizing the Maha Nikaya Sangha for the purposes of management and unity. The results of the research found that from this movement and process, changes in the traditional religious routines in the pattern of Maha Nikaya Sangha had the same unity. With the influence of the Dhammayuttika Nikaya, the order obviously interfered so that it could be said to create "new identities" in the Maha Nikaya Sangha from then until now.
ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของคณะสงฆ์มหานิกายที่เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของธรรมยุติกนิกายในช่วงของการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445 – 2484) เป็นผลต่อเนื่องจากการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435 ทำให้รัฐมีนโยบายในการจัดการศึกษาเล่าเรียนในหัวเมือง พ.ศ. 2441 โดยมีคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นแกนหลักในการเข้ามาจัดการศึกษาฯ จากการสำรวจในท้องถิ่นพบว่าคณะสงฆ์ไทยฝ่ายมหานิกายมีวัตรปฏิบัติและธรรมเนียมแบบแผนทางศาสนาแตกต่างจากคณะสงฆ์ในส่วนกลางโดยเฉพาะแบบแผน “ธรรมยุติกวัตร” ซึ่งเป็นรูปแบบที่พระวชิรญาณเถรใช้เป็นแนวคิดในการสถาปนาคณะธรรมยุติกนิกาย ทำให้ชนชั้นปกครองของรัฐยอมรับในแนวคิดของคณะธรรมยุติกนิกายและสนับสนุนพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเข้ามามีบทบาทในการปกครองคณะสงฆ์เพื่อรวมอำนาจคณะสงฆ์เข้าสู่ส่วนกลางและจัดการคณะสงฆ์ทั่วพระราชอาณาเขตให้เป็นเอกภาพเดียวกัน เป็นเหตุให้คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเข้ามาจัดรูปคณะสงฆ์มหานิกายขึ้นใหม่ใน 3 ด้าน คือ 1. การปกครองคณะสงฆ์ 2. ระเบียบแบบแผนทางศาสนา 3. การศึกษาคณะสงฆ์ โดยกระบวนการดังกล่าวได้เป็นไปตามแนวคิดทางศาสนาของคณะธรรมยุติกนิกายและได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างชัดเจน  จากผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมแบบแผนทางศาสนาและวัตรปฏิบัติในคณะสงฆ์มหานิกายขึ้นจนเป็นเอกภาพเดียวกันทั่วพระราชอาณาเขต โดยมีอิทธิพลของธรรมยุติกนิกายนั้นเข้ามาแทรกแซงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวได้ว่าเป็นการสร้าง “ตัวตนใหม่” หรือ “อัตลักษณ์ใหม่” ในคณะสงฆ์มหานิกายตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1634
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130091.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.