Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1630
Title: MODEL OF QUALITY MANAGEMENT COMPETENCY FOR BASIC SCHOOL DIRECTORS IN EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE 
โมเดลสมรรถนะการบริหารคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประกันคุณภาพการศึกษา
Authors: PHANCHITA KANOKPHONGSATHIAN
พัณณ์ชิตา กนกพงษ์เสถียร
Taweesil Koolnaphadol
ทวีศิลป์ กุลนภาดล
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: สมรรถนะการบริหารคุณภาพ
ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การประกันคุณภาพการศึกษา
Quality Management Competency
Basic School Directors
Educational Quality Assurance
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to synthesize the components of quality management competency for basic school directors in educational quality assurance; and (2) to create a model of quality management competency for basic school directors in educational quality assurance. This study employed mixed-method research. The qualitative research methodology was a focus group discussion with 14 key informants, who were selected by purposive sampling method and consisting educational administrators, educational directors, and teachers responsible for quality assurance in schools. In terms of the quantitative research methodology, the sample group for the quantitative approach consisted of 345 school directors and teachers in schools by determining the sample size using the Rule of Thumb and a multi-stage random sampling method. The research instrument was a questionnaire. The findings of this research were as follows: (1) quality Management competency for basic school directors in educational quality assurance consisted of 20 competencies: (1) change management; (2) Language use,  communication, and cooperation; (3) Pedagogical abilities; (4) concepts of quality management and educational quality assurance; (5) established tools and methods for quality management; (6) quality standards for management systems and educational quality assurance; (7) data analysis for quality management; (8) Information processing and visualization; (9) a focus on stakeholder perspectives; (10) quality development approach; (11) digital competency; (12) holistic and strategic understanding; (13) experience and knowledge from internal and external contexts; (14) contextual adaptability; (15) innovation ability; 16) professional ethics; (17) effective team-building and development; (18) quality corporate culture; (19) empowerment; (20) professional self-development; and (2) The competency factors for the quality management competency for basic school directors in educational quality assurance consisted of five elements: (1) ethical leadership competency; (2) conceptual competency; (3) quality management process competency; (4) organization mobility competency; and (5) digital competency.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะการบริหารคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา และ 2) เพื่อสร้างโมเดลสมรรถนะการบริหารคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างคำอธิบายสมรรถนะการบริหารคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การสนทนากลุ่ม ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา จำนวน 345 คน ซึ่งได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กฎแห่งความชัดเจน และวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1. สมรรถนะการบริหารคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา มีจำนวน 20 สมรรถนะ ได้แก่ 1) การบริหารการเปลี่ยนแปลง  2) การใช้ภาษา การสื่อสาร และความร่วมมือ 3) ความสามารถในการสอนงาน 4) แนวคิดการบริหารคุณภาพและการประกันคุณภาพการศึกษา 5) การสร้างเครื่องมือและวิธีการการบริหารคุณภาพ 6) มาตรฐาน ระบบการบริหารคุณภาพและ การประกันคุณภาพการศึกษา 7) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบริหารคุณภาพ 8) การประมวลสารสนเทศและการสร้างภาพข้อมูล 9) การให้ความสำคัญกับมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 10) แนวทางการพัฒนาคุณภาพ 11) สมรรถนะดิจิทัล 12) ความเข้าใจแบบองค์รวมและเชิงกลยุทธ์ 13) ประสบการณ์และความรู้จากบริบทภายใน และบริบทภายนอกสถานศึกษา 14) ความสามารถในการปรับตัวตามบริบท 15) ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 16) จรรยาบรรณวิชาชีพ 17) การสร้างและพัฒนาทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ 18) วัฒนธรรมองค์กรคุณภาพ 19) การเสริมสร้างพลังอำนาจ 20) การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมวิชาชีพ และ 2. โมเดลสมรรถนะการบริหารคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีองค์ประกอบสมรรถนะ 5 ด้าน คือ 1) สมรรถนะด้านผู้นำเชิงจริยธรรม 2) สมรรถนะด้านมโนทัศน์ 3) สมรรถนะด้านกระบวนการบริหารคุณภาพ 4) สมรรถนะด้านการขับเคลื่อนองค์การ และ 5) สมรรถนะด้านดิจิทัล
Description: DOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1630
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621150063.pdf11.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.