Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1614
Title: THE EFFECT OF DUAL-CURED ACTIVATOR WITH UNIVERSAL ADHESIVEON PUSH-OUT BOND STRENGTH OF DUAL-CURED CORE BUILD-UPAND FIBER POST 
ผลของการใช้สารกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบ่มตัวสองแบบร่วมกับยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟต่อค่าความแข็งแรงพันธะกดออกของวัสดุก่อแกนฟันชนิดบ่มตัวสองแบบกับเดือยฟันไฟเบอร์
Authors: PRANGTHIP SUKSRIJAKRAWAL
ปรางทิพย์ สุขศรีจักรวาฬ
Vibul Paisankobrit
วิบุลย์ ไพศาลกอบฤทธิ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry
Keywords: สารกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบ่มตัวสองแบบ
บ่มตัวจากการสัมผัส
วัสดุก่อแกนฟัน
เดือยฟันไฟเบอร์
Dual-cured activator
Touch-cure
Core build-up
Fiber post
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are to determine the bonding effectiveness of dual-cured core build-up material and fiber post by using the touch-cure adhesive system in order to compare the push-out bond strength (PBS) when the dual-cured activator is used versus when it is not used. The materials and methods were as follows: the specimens were divided into eight groups according to adhesive protocol, the curing protocol and testing time. There were six fiber posts were used in each group. The fiber post (D.T.Light- Post® X-RO® ILLUSION® size 3; R.T.D., France) surfaces were either treated with a universal adhesive (Clearfil™ Tri-S Bond Universal; Kuraray Noritake Dental Inc, Japan) alone (“NA”) or with universal adhesive mixed with a dual-cured activator (Clearfil™ DC Activator; Kuraray Noritake Dental Inc, Japan) (“A”) and then luted with dual-cured core build-up material (Clearfil™ DC Core Plus; Kuraray Noritake Dental Inc, Japan) in a clear acrylic tube on the positioning mold. The curing protocols differ between light-cured for 40 seconds (“L”) with a LED curing unit (Elipar, 3M), and stored in a dark box for six minutes (“NL”). The specimens were either tested immediately after preparation (“I”) or kept in a water bath in an incubator (37 °C) for 24 hours (“D”) before being tested. All of the specimens were cut into seven sections each, with a thickness of 1.5 ± 0.1 mm. The PBS was determined using the Universal Testing Machine (EZ-LX; Shimadzu, Japan) with a cross-head speed of 0.5 mm/min. The data were analyzed using One-way ANOVA and Tukey’s Honest Significant Difference test. (n=42, α =0.05) SEM testing was performed on representative failed specimens from each failure mode. The results revealed the following: the group with the highest PBS was “ALD” (8.87 ± 1.48 MPa), while the “NANLI” group had the lowest PBS (4.16 ± 0.95 MPa). There was a significant difference in PBS between the groups (p=.000). A Tukey’s post-hoc test revealed a significant difference between the “NANLD” group and the “ANLD” group. (p=.000) In conclusion, the addition of a dual-cured activator may improve the PBS of light-inactivated adhesives and core materials.
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยึดติดระหว่างเดือยฟันไฟเบอร์และวัสดุก่อแกนฟันชนิดบ่มตัวสองแบบที่มีสมบัติบ่มตัวจากการสัมผัสร่วมกับสารยึดติดยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ และศึกษาผลของการใช้สารกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบ่มตัวสองแบบ โดยพิจารณาจากค่าความแข็งแรงพันธะกดออก ใช้วัสดุอุปกรณ์และวิธีการโดยแบ่งกลุ่มการทดลองเป็นแปดกลุ่ม ตามวิธีการใช้สารยึดติดและสารกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบ่มตัวสองแบบ การฉายแสง และเวลาเมื่อทดสอบค่าความแข็งแรงพันธะกดออก แต่ละกลุ่มใช้เดือยฟันไฟเบอร์หกชิ้น โดยพื้นผิวเดือยฟันไฟเบอร์ดีทีไลท์-โพส เอ็กซ์-อาร์โอ อิลลูชั่น จะถูกเตรียมด้วยสารยึดติดเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ยูนิเวอร์แซล (“NA”; No Activator) หรือเคลียร์ฟิลไตรเอสบอนด์ยูนิเวอร์แซลผสมกับเคลียร์ฟิลดีซีแอคทิเวเตอร์ (“A”; Activator) นำเดือยฟันที่เตรียมพื้นผิวแล้วและท่ออะคริลิกใสวางลงบนแท่นสำหรับสร้างตัวอย่างทดลอง ฉีดเคลียร์ฟิลดีซีคอร์พลัสจนเต็มท่อ ฉายแสงด้วยเครื่องฉายแสงแอลอีดีเป็นเวลา 40 วินาที (“L”; Light-cure)  หรือเก็บในกล่องโลหะทึบแสงเป็นเวลา 6 นาที (“NL”; No light-cure)  จากนั้นตัวอย่างทดลองจะถูกตัดและทดสอบความแข็งแรงพันธะกดออกทันที (“I”; Immediate) หรือเก็บในตู้บ่มทึบแสง อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนที่จะถูกตัดและทดสอบความแข็งแรงพันธะกดออก (“D”; Delay) ตัวอย่างทดลองจะถูกตัดเป็นแผ่นหนา 1.5 ± 0.1 มิลลิเมตร โดยตัวอย่างทดลองที่เตรียมจากเดือยฟันไฟเบอร์หนึ่งชิ้นเมื่อตัดแล้วจะได้ชิ้นทดสอบเจ็ดชิ้น (n=42) ทดสอบความแข็งแรงพันธะกดออกด้วยเครื่องทดสอบสากล ความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที กดจนเดือยฟันหลุดออกจากวัสดุก่อแกนฟัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบทูกีย์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ดูลักษณะความล้มเหลวที่พื้นผิวยึดติดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ได้ผลการทดลองคือ กลุ่ม “ALD” มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะกดออกสูงสุด (8.87 ± 1.48 MPa) และกลุ่ม “NANLI” มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะกดออกต่ำสุด (4.16 ± 0.95 MPa) พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะกดออกระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) โดยกลุ่ม “NANLD” มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะกดออกต่างจากกลุ่ม “ANLD” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สารกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาบ่มตัวสองแบบอาจช่วยปรับปรุงค่าความแข็งแรงพันธะกดออก เมื่อทำการยึดเดือยฟันไฟเบอร์กับวัสดุก่อแกนฟันชนิดบ่มตัวสองแบบแล้วไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยแสง
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1614
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110166.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.