Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1569
Title: | THE EFFECTS OF PSYCHO-SOCIAL FACTORS TO CAREER ADAPTABILITYOF COMMUNICATION ARTS UNDERGRADUATE STUDENTS IN BANGKOK ปัจจัยทางจิตและทางสังคมที่มีต่อความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | KANOKPOND DUANGSAO กนกพร ดวงเสาร์ Piyada Sombatwattana ปิยดา สมบัติวัฒนา Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE |
Keywords: | ความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพ นักศึกษา นิเทศศาสตร์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน career adaptability undergraduate student communication arts comfirm factor analysis |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objectives of this study are as follows: (1) to use confirmatory factor analysis to analyze career adaptability of undergraduate Communication Arts students; (2) to analyze the predictive power of psycho-social variables of career adaptability of undergraduate students in undergraduate Communication Arts students. The data from 402 students were collected using multistage-sampling. The questionnaire developed for this study used a six-point rating scale to measure six dimensions of career adaptability. The questionnaire was assessed by experts and yielding a Cronbach’s Alpha between 0.806 to 0.952. The following statistical measures were obtained using a statistical package to conduct confirmatory factor analysis and with a Chi-square of 1.27, df = 1.00, GFI = 1.00, CFI = 1.00, RMSEA = 0.026 and NFI = 1.00. It was found that career curiosity and career confidence had the highest factor loading of 0.90; the factor loading for career control was 0.83 and career concern was 0.67. The values of R-square were between 0.45 and 0.8 and regression analysis found that learning goal orientation, proactive personality, protean, a boundary-free career attitude and social support were able to predict around 75.3% of career adaptability at a 1% level of significance. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของนักศึกษานิเทศศาสตร์ และเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายและค้นพบตัวทำนายที่สำคัญของปัจจัยทางจิตและทางสังคมที่มีต่อความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของนักศึกษานิเทศศาสตร์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษานิเทศศาสตร์ชั้นปี 4 จำนวน 402 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ จำนวน 6 แบบวัด ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง 0.806 ถึง 0.952 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของนักศึกษามีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ = 1.27, df = 1, GFI = 1.00, CFI = 1.00, RMSEA = 0.026 และ NFI = 1.00 โดยที่ด้านความใฝ่รู้ในอาชีพและด้านความมั่นใจในตนเองทางอาชีพ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดเท่ากับ 0.90 รองลงมาด้านการควบคุมตนในอาชีพ และด้านความใส่ใจในอาชีพ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.83 และ 0.67 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) อยู่ระหว่าง 0.45 – 0.82 เป็นค่าน้ำหนักที่เหมาะสม สำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำเข้า พบว่า การมุ่งเน้นเป้าหมายการเรียนรู้ บุคลิกภาพเชิงรุก เจตคติต่ออาชีพที่มีอิสระและไร้ข้อจำกัด การสนับสนุนทางสังคม ร่วมกันทำนายความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพของนักศึกษาได้ ร้อยละ 75.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
Description: | MASTER OF SCIENCE (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1569 |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs621130424.pdf | 13.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.