Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/153
Title: | STUDY AND DESIGN OF JEWELRY GLASS CERAMIC SOUVENIR TOURISM PROMOTION FROM THE IDENTITY OF PHRAE การศึกษาและออกแบบเครื่องประดับกลาสเซรามิคที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว จากอัตลักษณ์ จ.แพร่ |
Authors: | SUPANIDA MANEECHOT ศุภนิดา มณีโชติ KORAKLOD KUMSOOK กรกลด คำสุข Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | อัตลักษณ์ การออกแบบ เครื่องประดับที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว identity design jewelry souvenirs tourism promotion |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of the study was the design of jewelry glass ceramic souvenirs and tourism promotion of the Phrae identity through objects such as following: 1) to study the identity of Phrae; 2) to design and develop jewelry souvenirs to promote tourism using the identity 3) to study customer satisfaction with jewelry souvenirs new design for tourism promotion using the Phrea identities; 4) to add value to ceramic glass materials which are developed as gem.
The methodology involved the following: 1) the collection of primary data. The expert interviews were used to identify and to study the insights about Phrae and the identity of the province. Interviews with experts and designers were used to find optimum design. The tool used in this study was a structured interview. The field observations of the behavior and opinions of customers to buy products souvenirs of Phrae, particularly Thai and foreign tourists visiting Phrae; 2) collecting secondary data including landscape literature review from the documents and related research; 3) to analyze all of the information and to summarize the requirements in the design.
The research results revealed the Phrae identity in the aspects of promoting tourism. Based on the information about the identity of Phrae was as follows: 1) to identity the dominant people in the province and tourists associate Phrae with Vongburi House; 2) The proper look of jewelry souvenirs and tourism promotion of Phrae province, including simple outfits, able to buy souvenirs or wear them in everyday life; 3) reducing some details, but retaining the distinctive patterns. In terms of jewelry design souvenirs and tourism promotion of Phrae, the gems used onyx, which was transformed into black opal. The technique of glass ceramic materals to use silver for the gems which were distinctive. The styles, patterns and colors using the patterned structure of Vongburi House, which is the identity of architecture in Phrae and covered by Pink Gold, therefore relared with Vongburi House paint.
Using the results of research to design jewelry glass ceramic souvenirs and tourism promotion in the Phrae province materials used and it was found that onyx was found in the province and causing the value recognition. This increased the value and transfer this identity to recognize both Thais and foreigners. การศึกษาและออกแบบเครื่องประดับกลาสเซรามิคที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว จากอัตลักษณ์ จ.แพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของ จ.แพร่ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้อัตลักษณ์ ของ จ.แพร่ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเครื่องประดับที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่ออกแบบใหม่ โดยใช้อัตลักษณ์ของ จ. แพร่ 4) เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่วัสดุกลาสเซรามิค โดยนำมาพัฒนาเป็นอัญมณี วิธีดำเนินการวิจัย เริ่มจาก 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านอัตลักษณ์ จ.แพร่เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของจังหวัด สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุอัญมณีและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องประดับ เพื่อหาข้อกำหนดและแนวทางในการออกแบบที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีการลงพื้นที่เพื่อสังเกตพฤติกรรมและสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก จ.แพร่ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่มาท่องเที่ยวใน จ.แพร่ 2) เก็บรวบรวมข้อมูลทุตยิภูมิ ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรมจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด เพื่อสรุปข้อกำหนดในการออกแบบ ผลการดำเนินการวิจัย ได้ข้อกำหนดด้านอัตลักษณ์ จ.แพร่ ในแง่มุมของการส่งเสริมการท่องเที่ยว จากผู้เชี่ยวชาญด้านอัตลักษณ์ จ.แพร่ ดังนี้ 1) อัตลักษณ์เด่นที่ผู้คนในจังหวัดและนักท่องเที่ยวรู้จักเป็นอย่างดีของ จ.แพร่ คือ บ้านวงศ์บุรี 2) รูปลักษณ์ที่เหมาะสมของเครื่องประดับที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.แพร่ คือ จะต้องสวมใส่ง่าย สามารถซื้อเป็นของฝาก หรือสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ 3) มีการตัดทอนรายละเอียดบางส่วน แต่ยังคงเอกลักษณ์ลวดลายที่โดดเด่นไว้ และได้ข้อกำหนดด้านการออกแบบเครื่องประดับที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.แพร่ ด้านอัญมณี ใช้นิล จ.แพร่ ที่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นโอปอลสีดำ ด้วยเทคนิคกลาสเซรามิค ด้านวัสดุ คือ ใช้วัสดุเงิน เพื่อให้อัญมณีดูโดดเด่น ด้านรูปแบบ ลวดลาย และสี ใช้ลวดลายโครงสร้างของสถาปัตยกรรมบ้านวงศ์บุรี ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมของ จ.แพร่ และชุบสี Pink Gold เพื่อให้สอดคล้องกับสีของตัวบ้าน นำผลการดำเนินการวิจัย มาออกแบบเครื่องประดับกลาสเซรามิคที่ระลึก ส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.แพร่ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก ในรูปแบบของเครื่องประดับ ที่มีความแตกต่างทั้งด้านรูปแบบ ลวดลาย และวัสดุอัญมณีที่ใช้ ซึ่งเป็น นิลที่พบใน จ.แพร่ ทำให้เกิดคุณค่า การจดจำ เกิดมูลค่าเพิ่ม และถ่ายทอดอัตลักษณ์อันดีงามให้เป็นที่รับรู้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่อไป |
Description: | MASTER OF FINE ARTS (M.F.A.) ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/153 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs581130243.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.