Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1528
Title: THE RELATIONSHIP BETWEEN THE LEARNING ORGANIZATION AND THE TEAM PERFORMANCE AT THE HEAD OFFICE OF THE GOVERNMENT SAVINGS BANK
ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานทีม ของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่
Authors: PARAMEE SUKLIM
ปารมี สุขลิ้ม
Sedtawat Prommasit
เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: องค์การแห่งการเรียนรู้
ประสิทธิผลการปฏิบัติงานทีม
ธนาคารออมสิน
LEARNING ORGANIZATION
TEAM PERFORMANCE
THE GOVERNMENT SAVINGS BANK
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is to study the relationship between the learning organization and the team performance at the Head Office of the Government Savings Bank. The sample group consisted of 368 employees of the Government Savings Bank for large events. This research used questionnaires as a tool to collect the data. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. The statistics used to test the hypothesis included a t-test, One-Way Analysis of Variance and correlation analysis using Pearson's simple correlation statistics. The results of the research found that most of the respondents were female, aged between 20-30, a single status, held a Bachelor’s degree or equivalent and a salary of 36,000-42,99 Baht. The duration of their work was between 1-6 years and the overall learning organization was at a high level. When considering each aspect, it was found at a high level in all aspects, namely, organizational member empowerment, learning dynamics, organizational change, knowledge management, and technology application, respectively. Overall, the effectiveness of the employees of the Government Savings Bank headquarters was at a high level. When considered on a case-by-case basis, it was found that it was at a high level in all aspects, i.e., skills in working in groups, understanding of working in groups, and relationships between group members or teams, respectively. The hypothesis testing results found that employee demographic characteristics included gender, age and salary rate. The differences in performance duration were effective in team performance, group skills, group understanding, and relationships between group members or teams. There was a statistically significant difference at a level of 0.05. Learning organization was related to the effectiveness of working as a team, skills in working in groups, understanding of working in groups, and the relationship between group members or teams at a statistically significant level of 0.01.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานทีมของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่  กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานธนาคารออมสินสำหรับงานใหญ่ จำนวน 368 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20 – 30 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอัตราเงินเดือน 36,000 – 42,999 บาท  มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานงานระหว่าง 1 – 6 ปี องค์การแห่งการเรียนรู้ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเพิ่มอำนาจสมาชิกองค์การ ด้านพลวัตรการเรียนรู้ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์การ ด้านการจัดการความรู้ และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ตามลำดับ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านทักษะในการทำงานแบบกลุ่ม ด้านความเข้าใจในการทำงานแบบกลุ่มและด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มหรือทีมงาน ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ อัตราเงินเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกันมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีมด้านทักษะในการทำงานแบบกลุ่ม ด้านความเข้าใจในการทำงานแบบกลุ่ม และด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มหรือทีมงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 องค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเป็นทีม ด้านทักษะในการทำงานแบบกลุ่ม  ด้านความเข้าใจในการทำงานแบบกลุ่ม และด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มหรือทีมงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1528
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130455.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.