Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1487
Title: THE VIETNAM WAR AND MAKING PROPRAGANDA  OF THE UNITED STATES  FROM 1955 TO 1975
สงครามเวียดนามกับการสร้างโฆษณาชวนเชื่อของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ค.ศ. 1955-1975
Authors: RUJ ROHITRATANA
รุจ โรหิตรัตนะ
Nathaporn Thaijongrak
ณัฐพร ไทยจงรักษ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Social Sciences
Keywords: โฆษณาชวนเชื่อ
สหรัฐอเมริกา
สงครามเวียดนาม
เวียดนามใต้
เวียดกง
คอมมิวนิสต์
Propaganda
The United States
Vietnam War South Vietnam
Vietcong North Vietnam
Communist
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This thesis studies the creation of United States propaganda and the Vietnam War between 1955-1975 through primary sources, including speeches, newspapers, movies, songs and publications, including posters and leaflets. The main objective is to explore the propaganda creation strategies in Vietnam War. The first period, from 1955-1968, was when the US indirectly and directly influenced South Vietnam. The image of pro-US, anti-communist propaganda was characterized by communism as a threat to the political security of South Vietnam and the creation of the righteous image of US leaders who needed to play a role in South Vietnam, while promoting Ngo Dinh Diem, the South Vietnamese leader, as the one who could lead South Vietnam out of communism and bring about prosperity. The second period was 1968 to 1975, when the anti-war movement became more widespread due to increased participation in Vietnam. The propaganda from this period emphasized ending the war, seeking peace, reviewing US policy in Vietnam, etc. In addition, most propaganda from this period emerged from modern intellectuals who saw the Vietnam War as mismanaged of US government policy on Vietnam. In this period, the use of propaganda diversified to reached all of the target groups. The effect of propaganda during this period made the public more aware of Vietnam and also perceptions on the ‘facts’ about US military activities in Vietnam. They also felt that North and South Vietnam should have resolved the issues themselves rather than allowing the superpowers to intervene in their internal affairs.
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้ ศึกษาการสร้างโฆษณาชวนเชื่อของสหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนามในช่วงเวลาค.ศ.1955-1975 โดยศึกษาจากหลักฐานชั้นต้นคือ สุนทรพจน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ บทเพลงและสื่่อสิ่งพิมพ์อย่างโปสเตอร์และใบปลิวซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างโฆษณาชวนเชื่อของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม และผลของที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรก ตั้งแต่ค.ศ. 1955-1968 เป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลในเวียดนามใต้ทั้งโดยอ้อมและโดยตรง โฆษณาชวนเชื่อในช่วงเวลาดังกล่าวเน้นย้ำถึงการโจมตี กล่าวประณามภัยคอมมิวนิสต์ที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงทางการเมืองในเวียดนามใต้ พร้อมกับสร้างภาพลักษณ์อันชอบธรรมในตัวผู้นำสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องเข้าไปมีบทบาทในเวียดนามใต้โดยให้เหตุผลการต่อต้านคอมมิวนิสต์เป็นหลัก พร้อมกับสร้างภาพลักษณ์ผู้นำเวียดนามใต้อย่างโง ดินห์ เดียมให้เป็นผู้นำที่สามารถนำพาเวียดนามใต้พ้นจากคอมมิวนิสต์และนำพาสู่ความเจริญแห่งเวียดนาม  ช่วงที่สอง  ตั้งแต่ค.ศ. 1968-1975  ช่วงระยะเวลาดังกล่าวกระแสต่อต้านสงครามเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้นเนื่องจากการเข้าไปมีส่วนในเวียดนามมากขึ้น โฆษณาชวนเชื่อในยุคดังกล่าวถูกเน้นย้ำอถึงการยุติสงคราม การแสวงหาสันติภาพ การทบทวนบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อเวียดนาม เป็นต้น นอกจากนี้โฆษณาชวนเชื่อในยุคดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากปัญญาชนสมัยใหม่ที่มองถึงปัญหาสงครามเวียดนามยืดเยื้อและมองถึงการดำเนินนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับเวียดนามผิดพลาด ในยุคดังกล่าวมีการใช้โฆษณาชวนเชื่อหลากหลายและเข้าถึงทุกลุ่มผลของการใช้โฆษณาชวนเชื่อในยุคดังกล่าวทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อเวียดนามมากขึ้นและส่งผลต่อการรับรู้ "ข้อเท็จจริง" เกี่ยวกับกิจกรรมการทหารของสหรัฐอเมริกาในเวียดนามมากขึ้นและมีความเห็นให้เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ตกลงปัญหาด้วยตนเองมากกว่าชาติมหาอำนาจเข้าไปแทรกแซงปัญหาภายใน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1487
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591110063.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.