Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1460
Title: STUDY OF THE TRANSMISSION OF TAI YAI CULTUREIN THAILAND THROUGH MUSIC , CASE STUDY OF TAWEESAK NAWKAM
การศึกษาการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทใหญ่ในประเทศไทยผ่านดนตรีกรณีศึกษานายทวีศักดิ์  หน่อคำ
Authors: SORATHAN PUAKDEE
สรธัญ พวกดี
Surasak Jamnongsarn
สุรศักดิ์ จำนงค์สาร
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: สัมภาระทางวัฒนธรรม
การถ่ายทอดวัฒนธรรม
ชุมชนไทใหญ่ในประเทศไทย
Cultural baggage
Transmission of the culture
Tai Yai community
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research is to study the cultural transmission of Tai Yai people in Thailand through the music of Taweesak Nawkham. The objective is to study Tai Yai culture transmitted through the music of Taweesak Nawkham and to study the musical styles used to transmit culture. The results of the study showed that some of the Tai Yai people settled in Thailand in the Rattanakosin period in the north of Thailand, while some lived and worked in Bangkok. At present, there are many Tai Yai communities in Bangkok. The main place is Sathu Pradit and Tom Ton Tai school at Nawamin 145. It preserves the Tai Yai culture for the new generation of Tai Yai people. Taweesak Nawkham is a musician who is knowledgeable about Tai Yai music. Therefore, using music to transmit the culture and cultivate patriotism in the Tai Yai community. There are six songs in total, as follows: Tasri songs, Tournow songs, Yopyan songs, Tarawmarkpao songs, and Longkong songs. All six types of songs can be divided into three topics as follows: career opportunities, national foods, and patriotism. The song structure has three main melodies: the Trang, Khun and Long melodies. It is a musical performance with singing at the end of the melody. The music is played like a singing melody and played repeatedly. Tai Yai songs has two rhythms, which were called a Geenung and Geesong. In terms of the scale, there is no scale change in these songs. For example, Tasri songs, Tournow songs and Geesong songs are all in E major scales. Tarawmarkpao songs are in a B major scale, Yopyan songs were in the A major scale and Longkong songs are in a G major scale. The pattern of the lyrics is focused on the last word. The last word of each melody is connected to the next. The transmission of the culture of Taweesak Nawkham aims to increase patriotism and music culture into the wider culture of the Tai Yai community in Thailand to preserve Tai Yai culture.
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการถ่ายทอดวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ที่อยู่ในประเทศไทยผ่านดนตรีไทใหญ่ของครูทวีศักดิ์  หน่อคำ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาวัฒนธรรมไทใหญ่ที่ถูกถ่ายทอดผ่านดนตรีของครูทวีศักดิ์  หน่อคำ และศึกษารูปแบบของดนตรีที่ใช้ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า คนไทใหญ่บางส่วนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทย และบางส่วนก็เข้ามาในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ในปัจจุบันไทใหญ่ในกรุงเทพมหานครมีแหล่งชุมชนไทใหญ่หลายที่ แหล่งชุมชนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่คือที่ สาธุประดิษฐ์ และแหล่งที่สำคัญอีกที่หนึ่งคือ โรงเรียนตุ่ม ต้น ไต ซอยนวมินทร์ 145 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยชุมชนไทใหญ่ที่อยู่ในประเทศไทย รวมตัวกันเพื่อสร้างแหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ของชาติพันธุ์ไทใหญ่ ทั้งด้าน ภาษา ดนตรี และนาฏศิลป์ ให้สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการถ่ายทอดให้กับชาวไทใหญ่รุ่นใหม่ที่อยู่ในประเทศไทย และไม่หลงลืมวัฒนธรรมชาติพันธุ์ของตนเองเนื่องด้วยครูทวีศักดิ์  หน่อคำ เป็นนักดนตรีไทใหญ่ที่ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นเวลานาน และต้องการที่จะปลูกฝังสำนึกทางชาติพันธุ์ ความเข้าใจทางวัฒนธรรมไทใหญ่ให้กับคนไทใหญ่ในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้ถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ผ่านบทเพลง 6 บทเพลง ได้แก่ เพลงทาสี เพลงถั่วเน่า เพลงจีสอง เพลงหยอบหย่อน เพลงตะรอหมากเป้า และเพลงล่องโคง ทั้ง 6 บทเพลงพยายามนำเสนอสิ่งที่ครูทวีศักดิ์  หน่อคำ ต้องการถ่ายทอดให้คนไทใหญ่ในชุมชนได้ 3 ด้าน คือ โอกาสที่ดีในการประกอบอาชีพ อาหารประจำชาติพันธุ์ และความเป็นชาติพันธุ์ไทใหญ่รูปแบบของบทเพลงที่ใช้ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมมีโครงสร้างหลักอยู่ 3 ทำนอง ได้แก่ ทำนองตั้ง ทำนองขึ้น และทำนองลง บรรเลงซ้ำ โดยมีการขับร้องไปพร้อมกับดนตรี และเมื่อร้องจบในแต่ละเที่ยว ดนตรีจะบรรเลงรับโดยทำนองที่บรรเลงจะต้องบรรเลงให้เหมือนกับทำนองร้อง จนจบเพลงลักษณะของจังหวะจะมี 2 ประเภท คือ จี 1 และ จี 2 ทั้ง 2 ประเภทจะต่างกันคือ จังหวะ จี 1 จะเป็นการบรรเลงที่ไม่มีจังหวะกำกับ และ จังหวะ จี 2 การบรรเลงที่มีจังหวะกำกับ บันไดเสียงของบทเพลงทั้ง 6 มีบันไดเสียงเดียวทั้งเพลง ไม่มีการเปลี่ยนบันไดเสียงภายในบทเพลง บันไดเสียงที่พบมีดังนี้ บันไดเสียง มี ได้แก่เพลงทาสี เพลงถั่วเน่า และเพลงจีสอง บันไดเสียง ที ได้แก่ เพลงตะรอหมากเป้า บันไดเสียง ลา ได้แก่ เพลงหยอบหย่อน บันไดเสียง ซอล ได้แก่เพลงล่องโคง รูปแบบของคำร้องในแต่ละบทเพลงจะไม่ได้กำหนดจำนวนคำ หรือจำนวนพยางค์ แต่จะให้ความสำคัญที่คำสุดท้ายของประโยคจะต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของประโยคถัดไป การถ่ายทอดวัฒนธรรมของครูทวีศักดิ์  หน่อคำ นั้นต้องการปลูกฝัง สร้างสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ เพิ่มเติมสัมภาระทางวัฒนธรรมไทใหญ่ให้กับเยาวชนในชุมชนไทใหญ่ในประเทศไทย เพื่อมิให้หลงลืมความเป็นชาติพันธุ์ไทใหญ่ และวัฒนธรรมดั้งเดิมประจำชาติ
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1460
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130229.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.