Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/144
Title: | A STUDY ON ART ACTIVITIES FOR SELF-CONFIDENCE ENHANCEMENT ON SECONDARY STUDENTS การศึกษาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Authors: | AROONKAMOL SOOKPIBOON อรุณกมล สุขพิบูลย์ Lertsiri Bovornkitti เลิศศิริร์ บวรกิตติ Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | กิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น self-confidence secondary students art activities self-confidence enhancement |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research was to study and to develop a set of art activities in order to enhance the self-confidence and to compare the self-confidence of secondary students before and after using art activities. The sample consisted of fifteen students who joined the art club at Bodindecha (Sing Singhaseni) IV School in the first semester of the 2018 academic year. The participants were selected by purposive sampling from the school's art club. The experiment was carried out by three researchers for one day a week for seven weeks and each sessions lasted fifty minutes.The instruments used in this research included a set of art activities and an observation form for self-confidence behaviors with the index of consistency (IOC) between 0.67 and 1 and a reliability of 0.83. The research design was a one group pretest – posttest design. The data were analyzed using mean, standard deviation, and a t-test for dependent samples. The art activities were created and developed using the theories of Maslow and Erickson to ennhance self-confidence in general and in individual areas ,such as self-expression, self-adjustment to the environment and self-pride. The results of the research found that the experience of taking part in the art activities among students significantly increased self-confidence among the students before learning art activities at a level of 0.01. Respectively each conceptual aspects were analyzed and found to be significantly higher at a level of 0.05. การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาและพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2)เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะ ประชากรคือนักเรียนในชมรมศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 15 คน จากการสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองใน 15 ลำดับที่มีคะแนนน้อย จากนั้นทำการทดลองสัปดาห์ละ 1 วัน ครั้งละ 50 นาที รวม 7 สัปดาห์ มีผู้สังเกต 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมศิลปะ 6 แผน และ แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest – Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วย t-test for Dependent Samples โดยพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะขึ้นจากทฤษฏีของ Maslow และ Erikson เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1)ความกล้าแสดงออก 2)การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม 3)ความภาคภูมิใจในตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนชมรมศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองที่พัฒนาขึ้นอย่างสอดคล้องกับทฤษฎีของ Maslow และ Erickson มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2)การเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคะแนนความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Description: | MASTER OF EDUCATION (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/144 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571130404.pdf | 14.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.