Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1351
Title: | MUSIC AND THE CONSTRUCTION OF TAI PHAKE ETHNIC IDENTITY IN ASSAM STATE,INDIA ดนตรีกับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเก รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย |
Authors: | PAVINEE TEERAVUT ภาวิณี ธีรวุฒิ Surasak Jamnongsarn สุรศักดิ์ จำนงค์สาร Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | ดนตรีชาติพันธุ์ไทพ่าเก อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเก กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเก การผลิตซ้ำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเก Tai Phake music Tai Phake ethnic identity The process of the construction of a Tai Phake ethnic identity Tai Phake ethnic identity construction and reproduction |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The research has the following aims: (1) to study the knowledge of Tai Phake music in the Assam State in India; and (2) to study the construction process of Tai Phake ethnic identity in terms of music.
This study was conducted using the qualitative research method, based on documents and field data. The results are as follows: with regard to knowledge of Tai Phake, it was found that in India there were two types of Tai Phake music: (1) Tai Phake music using musical instruments, including the following rhythmic instruments: (1) a Kong, which looks like a big drum; (2) a Mong, which looks like a gong; and the Saeng, which looks like a cymbal. The set time signature used was 4/4. The speed of the tempo was 74 beats per minute, with three rhythmic patterns; (3) music using traditional singing and modern music. The structure can be divided into melody and content, such as melodic verses, melodic phrases and a coda. The style of traditional music is a melodic texture in the pentatonic scale, below the three major scales. The speed of the tempo varied between 71 to 110 beats per minute, but depended on the skills and desires of the singer. There was no set time signature, except for the Khe khyang song, which used the traditional format, while modern music typically uses a 4/4-time signature. The speed of the tempo was 110 beats per minute. The style is a melodic texture in a major scale. Tai Phake music can be described as cultural capital to propel the ethnic identity process in terms of language, dress, beliefs and traditions to support cultural activities for festivals and special occasions. As a result, in order to create a collective consciousness of people in the community, the process of the construction of a Tai Phake ethnic identity through music was carried out through the process of selecting singers, musicians and dancers and traditional attire for participating in a musical and cultural activities. The rhythm and the melody of Tai Phake music and the Tai Phake language are evident in the lyrics.
These processes have caused reproductions of Tai Phake ethnic identity through ritual music, including: (1) the reproduction of music for entertainment; (2) the reproduction of rituals and traditions; (3) the reproduction of the Tai Phake language; (4) the reproduction of costumes; and (5) the inheritance of the Tai Phake ethnic identity. These processes demonstrate the power of traditional and modern music and the Tai Phake ethnic identity as a cultural symbol to preserve Tai Phake identity and including the pride and the strength of the community, building a network between Tai Phake and Tai in Southeast Asia and the multicultural society of the Assam State in India. การวิจัยเรื่องดนตรีกับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ไทพ่าเก รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาองค์ความรู้ทางดนตรีชาติพันธุ์ไทพ่าเก รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย 2) ศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทพ่าเกผ่านมิติทางดนตรีและวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ผลการวิจัย พบว่าดนตรีชาติพันธุ์ไทพ่าเก รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย มีการบรรเลงบทเพลง 2 ลักษณะ คือ 1. บทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วย ก๊อง มีลักษณะเหมือนกลองใหญ่ หม่อง มีลักษณะเหมือนฆ้อง และ แซง มีลักษณะเหมือนฉาบ บรรเลงในอัตราจังหวะ 4/4 มีความเร็วของจังหวะ 74 จังหวะเคาะต่อนาที และมีกระสวนจังหวะ 3 รูปแบบ 2. บทเพลงที่บรรเลงผ่านการขับร้องแบบขนบและเพลงขับร้องสมัยใหม่ที่มีโครงสร้างของเพลงประกอบด้วย ทำนองสร้อย ทำนองวรรค และทำนองลงจบ การขับร้องแบบขนบมีแนวทำนองเดียวในบันไดเสียงเพนทาโทนิค มีระดับเสียงแตกต่างกันไปไม่เกินคู่ 3 เมเจอร์ มีความเร็วของจังหวะระหว่าง 71 – 89 จังหวะเคาะต่อนาที ขึ้นอยู่กับทักษะและความต้องการของผู้ขับร้อง ทั้งนี้ไม่มีการกำหนดอัตราจังหวะ ยกเว้นเพลงประเภทเคเคียง ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทการขับร้องแบบขนบจะมีการกำหนดอัตราจังหวะ 4/4 ส่วนเพลงขับร้องสมัยใหม่จะมีการกำหนดอัตราจังหวะ 4/4 มีความเร็วของจังหวะ 110 จังหวะเคาะต่อนาที และมีแนวทำนองเดียวในบันไดเสียงเมเจอร์ ชาวไทพ่าเกใช้ทุนทางวัฒนธรรมด้านดนตรีในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์โดยมีวัฒนธรรมด้านภาษา การแต่งกาย ความเชื่อและประเพณี เป็นส่วนสนับสนุนผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรมดนตรีในงานประเพณีและโอกาสพิเศษต่างๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมของคนในชุมชนไทพ่าเก กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเกผ่านมิติทางดนตรีได้ดำเนินการผ่านกระบวนการคัดเลือกนักร้อง นักดนตรี และนักรำ การแต่งกายแบบไทพ่าเกร่วมกิจกรรมทางดนตรี จังหวะและทำนองเพลงของดนตรีไทพ่าเก การใช้ภาษาไทพ่าเกในบทร้อง กระบวนการต่าง ๆ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์การการผลิตซ้ำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเกผ่านการผลิตซ้ำดนตรีพิธีกรรม การผลิตซ้ำดนตรีเพื่อความบันเทิง การผลิตซ้ำพิธีกรรมและประเพณี การผลิตซ้ำภาษาไทพ่าเก และการผลิตซ้ำชุดแต่งกาย เพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทพ่าเกให้คงอยู่ไม่สูญหาย กระบวนการข้างต้นแสดงให้เห็นถึงพลังทางดนตรีทั้งดนตรีขนบเดิมและดนตรีสมัยใหม่ของชาติพันธุ์ไทพ่าเกในฐานะสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ ความภาคภูมิใจของชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน การสร้างเครือข่ายระหว่างคนไทพ่าเกกับคนไทในอุษาคเนย์ และความรักความหวงแหนในความเป็นไทพ่าเก ท่ามกลางความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมพหุวัฒนธรรมของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย |
Description: | DOCTOR OF ARTS (D.A.) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1351 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601150035.pdf | 12.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.