Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1345
Title: THE STUDY OF MUSIC FOR DIKIR RIAP PERFORMANCE FOR DAWUD HEADMAN BAND OF SAI KONG DIN TAI
การศึกษาดนตรีประกอบการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้
Authors: SAHAPARP SRISA-ARDRAK
สหภาพ ศรีสอาดรักษ์
Surasak Jamnongsarn
สุรศักดิ์ จำนงค์สาร
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: ดิเกร์เรียบ
กลองรำมะนา
คณะผู้ใหญ่ดาวุด
แขวงทรายกองดินใต้
Dikir Riap
Rebana
Dawud Headman band
Sai Kong Din Tai
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this research are as follows: (1) to study the history and development of the Dikir Riap performance for Dawud Headman band of Sai Kong Din Tai in social and cultural contexts; (2) to collect and record songs in the Dikir Riap performance for Dawud Headman band of Sai Kong Din Tai. The results of the study revealed that Master Praman Nuruddin, or Chaeman, was the one who initiated the introduction of Dikir Riap performances and coached the people in the community. One of Master Chaeman's descendants who has been inherited from generations to generations of Dikir Riap performances is Master Suthat Yidnoradin or Dawud Headman. The Dikir Riap performance is a performance dedicated to praising the Prophet Muhammad, accompanied by music. This performance is a cultural style of Thai-Malay Muslims, which combines Thai culture. The main instrument used to accompany the Dikir Riap is the Rebana drum. Arabic verses are based on the Barzanji scriptures. In addition, the musical cultural blend of drum pattern formed by the reconciliation of the Rebana drum, Traditional Thai Idiomatic song drum pattern, Traditional Thai song, and Thai country melody (Lukthung) were also found. The chorus and melody were collected and recorded in a Thai music notation system as a guideline to apply the Dikir Riap performance style for use in education for young people. It preserves and develops the performance style, and is considered an ethnic symbol that connects Thai-Malay Muslims together.
การศึกษาดนตรีประกอบการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้ มีความมุ่งหมายของการวิจัยคือ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้ ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม 2. รวบรวมและบันทึกบทเพลงในดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้ ผลการศึกษาพบว่า นายประมาณ นูรุดดีน หรือ แชมาน เป็นผู้ที่ริเริ่มนำการแสดงดิเกร์เรียบเข้ามาเผยแพร่ และเป็นผู้ทำการฝึกสอนผู้คนในชุมชน หนึ่งในลูกหลานของแชมานที่ได้รับการสืบทอดการแสดงดิเกร์เรียบจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันคือ นายสุทัศน์ ยิดนรดิน หรือ ผู้ใหญ่ดาวุด การแสดงดิเกร์เรียบเป็นการแสดงที่มีไว้เพื่อสรรเสริญศาสดามูฮัมหมัดโดยมีดนตรีประกอบ ซึ่งเป็นรูปแบบวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ซึ่งนำเอาวัฒนธรรมไทยเข้าไปผสมผสาน เครื่องดนตรีหลักที่ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องดิเกร์เรียบคือ กลองรำมะนา ส่วนบทร้องภาษาอาหรับเป็นเนื้อหามาจากในคัมภีร์ “บัรซันญี” นอกจากนี้ยังพบการผสมผสานทางวัฒนธรรมดนตรีของหน้าทับกลองที่เกิดจากการปรับเข้าหากันของกลองรำมะนา หน้าทับเพลงภาษาแบบไทย ทำนองเพลงไทยเดิม และทำนองเพลงลูกทุ่ง ซึ่งได้มีการรวบรวมและบันทึกบทขับร้องทำนองเพลงเป็นระบบโน้ตเพลงไทย เพื่อเป็นแนวทางที่จะประยุกต์รูปแบบการแสดงดิเกร์เรียบเพื่อใช้ในทางการศึกษาให้แก่เยาวชน เป็นการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดง ถือเป็นสัญลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูเข้าไว้ด้วยกัน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1345
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130230.pdf12.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.