Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/133
Title: THE DEVELOPMENT OF THE HOT WATER GENERATOR FOR FOOD INDUSTRIAL
ศึกษาพัฒนาเครื่องทำน้ำร้อนแบบต่อเนื่องในอุตสาหกรรมอาหาร
Authors: WUTTIPONG CHAISANG
วุฒิพงศ์ ไชยแสง
Prakpum Srirompuen
ภาคภูมิ ศรีรมรื่น
Srinakharinwirot University. Faculty of Engineering
Keywords: การแลกเปลี่ยนความร้อน
บอยเลอร์
ใบบิด
ท่อลมร้อน
heat exchanger
boiler
twist
hot air duct
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the efficiency of boiler development, to adjust the to fuel ratio and to study the pitch of the twist to be inserted in to the heat exchanger tube. The study found that when the time for boiler water was compared to the inserted of twist into the heat exchanger pipe, if took less time to boiler water and used less LPG because of the higher exchanger temperature. The heat exchanger tube was heated and put the twist was inserted into the heat exchanger. As a result, the hot gas retention in the heat exchanger tube lasted longer, resulting in longer contact with the heat exchanger. And sending it through to heat to the water that surrounds the heat exchanger tube in comparison to direct boiling water experiment, The lack of torque in the heat exchanger tube mad the gas run faster. There was also a lot of energy loss. These experiments revealed that continuous automatic water heaters in the food industry have closed systems and the torque of the different pitches went into the heat exchanger, in order to the heat transfer to the surrounding water. As a result, the water in the boiler was heated longer. In the experiment with a twist off at 125 cm intervals, it can withstand hot gas higher than 100 and 75 cm pitch respectively. This is especially true in the case of the heat exchanger tube that runs the exhaust gas, which was left unprofitable at 23.08%. The boiling of water by continuous automatic water heaters in which the twist in inserted into the heat exchanger tube which then loses energy during  production, less than that without a twist at the exchange tube. The boiling water with continuous automatic water heaters used in the industry had lower power consumption per unit than the direct stream method of 46.5%. When applied in the food industry, researchers hoped to benefit from the development and design of heat exchanger. New technologies are emerging that use materials that are more appropriate for the industry, and as a way to increase the heat capacity of the heat exchanger. Energy savings leads to lower production costs and benefits both installation and use more convenience and easier to maintain.  
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาการพัฒนาหม้อต้มน้ำให้มีประสิทธิภาพได้ทำการปรับอัตราส่วนอากาศต่อเชื้อเพลิง และศึกษาระยะ พิท ของใบบิดที่จะทำการใส่เข้าไปในท่อแลกเปลี่ยนความร้อน  จากการศึกษาพบว่าเมื่อทำการต้มน้ำเทียบกับการใส่ใบบิดเข้าไปในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนพบว่าใช้เวลาในการต้มน้ำใช้เวลาน้อยลง, ใช้ประมาณ LPG น้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิไอเสียมากขึ้น ทำให้ท่อแลกเปลี่ยนความร้อนได้รับความร้อนเพิ่มขึ้น และการใส่ใบบิดเข้าไปในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนนั้น ส่งผลให้หน่วงแก๊สร้อนให้ไหลภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนยาวนานขึ้นส่งผลให้น้ำที่สัมผัสกับท่อแลกเปลี่ยนความร้อนได้แลกเปลี่ยนความร้อนที่นานขึ้น และส่งผ่านความร้อนไปยังน้ำที่ล้อมรอบท่อแลกเปลี่ยนความร้อน เมื่อเทียบกับการทดลองต้มน้ำโดยตรง ไม่มีใบบิดในท่อแลกเปลี่ยนความร้อน ทำให้แก๊สร้อนวิ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว มีการสูญเสียพลังงานมากจากการทดลองพบว่า เครื่องทำน้ำร้อนอัตโนมัติแบบต่อเนื่องในอุตสาหกรรมอาหารมีระบบปิด และใบบิดที่มีระยะ พิท ที่ต่างกันเข้าไปในท่อแลกเปลี่ยนความร้อน เพื่อศึกษาการแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับน้ำที่อยู่โดยรอบ ส่งผลให้น้ำในหม้อต้มได้รับความร้อนที่นานขึ้น ในการทดลองพบว่า ใบบิด ที่ระยะ พิท 125 เซนติเมตร นั้น สามารถหน่วงแก๊สร้อนได้ดีกว่า ระยะพิท 100 และ 75 เซนติเมตรตามลำดับ โดยเฉพาะท่อแลกเปลี่ยนความร้อนที่ให้ก๊าซไอเสียวิ่งนั้น ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 23.08%  การต้มน้ำโดยใช้เครื่องทำน้ำร้อนอัตโนมัติแบบต่อเนื่องในอุตสาหกรรที่มีการใส่ใบบิดเข้าไปในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนสูญเสียพลังงานระหว่างการผลิตน้อยกว่าแบบที่ไม่ใส่ใบบิดที่ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน การต้มน้ำโดยใช้เครื่องทำน้ำร้อนอัตโนมัติแบบต่อเนื่องในอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตน้อยกว่าวิธีการไดเรคสตรีม ถึง 46.5% เมื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ผู้วิจัยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่โดยที่ใช้วัสดุที่มีความเหมาะสมในอุตสาหกรรมด้านนั้นๆ  และเป็นแนวทางในการเพิ่มสมรรถนะความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน การประหยัดพลังงาน นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต เกิดประโยชน์ทั้งในแง่การติดตั้งและการใช้งานที่สะดวกยิ่งขึ้นและง่ายต่อการบำรุงรักษา
Description: MASTER OF ENGINEERING (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/133
Appears in Collections:Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs562130056.pdf9.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.