Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1322
Title: INSTRUCTIONAL MANAGEMENT GUIDELINES TO ENHANCE GEOGRAPHY LITERACY: LESSONS LEARNED FROM SCHOOLS PARTICIPATING IN THAILAND GEOGRAPHY OLYMPIAD COMPETITION 
แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์: บทเรียนจากโรงเรียนที่เข้าแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ
Authors: SARUN SONGNUI
ศรัณย์ สงนุ้ย
Gumpanat Boriboon
กัมปนาท บริบูรณ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: ความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์
การแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิก
แนวทางการจัดการเรียนรู้
Geography Literacy
Geography Olympiad Competition
Instructional Guidelines
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the conditions of geography instruction to create geography literacy by analyzing the confirmatory factors and examining the conformity between the measurement model and empirical data in enhancing the geographical literacy of the learners. It also aims to propose some instructional guidelines gained from the schools that participated in the Thailand Geography Olympiad Competition to enhance geographical literacy and 225 social studies teachers and were selected using stratified random sampling. The quantitative data were collected using questionnaires and analyzed using confirmatory factors. The qualitative data were obtained using  in-depth and semi-structured interviews as well as an observation form. The three schools that received medals from the competition with different affiliations participated in the data collection process and the data were analyzed using content analysis.The results showed that (1) the conditions of geography instruction to empower geography literacy reflected frequent application of all elements among social studies teachers (Mean = 3.50, S.D. = 0.31) ranging from in-class activities (Mean = 3.69, S.D. = 0.33), assessment activities (Mean = 3.53, S.D. = 0.37), learning materials and historical resources (Mean = 3.47, S.D. = 0.40) and extracurricular activities (Mean = 3.30, S.D. = 0.49) respectively; (2) the measurement model conformed to an empirical data in enhancing geographical literacy (c2= 9.75, df = 52, p = .976, AGFI = 1.00, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01 and CFI = 1.00). The extracurricular activity factor loaded the highest while the use of learning materials, learning assessment, and in-class activity factors loaded less respectively at 0.63-0.92 and a statistically significant at a level of 0.5; (3) instructional guidelines included a focus on learning by utilizing intensive extracurricular activity and organizing a geography camp with some outside-class tutoring sessions and the use of some up-to-date geographical technologies and materials. It is advised for schools to emphasize training for their students to use geographical tools, which is an important key to geographical literacy.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์จากโรงเรียนที่เข้าแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณได้มาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังคมศึกษา จำนวน 225 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ภูมิภาคเป็นหน่วยการสุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ส่วนการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาจากกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนที่ได้รับเหรียญรางวัลภูมิศาสตร์โอลิมปิกซึ่งมีสังกัดแตกต่างกันจำนวน 3 โรงเรียน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสังเกตด้วยแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพของการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ครูสังคมศึกษามีการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ทุกองค์ประกอบบ่อยครั้ง (Mean = 3.50, S.D. = 0.31) โดยเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน(Mean = 3.69, S.D. = 0.33) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้(Mean = 3.53, S.D. = 0.37) การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ภูมิศาสตร์(Mean = 3.47, S.D. = 0.40) ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร(Mean = 3.30, S.D. = 0.49) (2) โมเดลการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 9.75, df = 52, p = .976, AGFI = 1.00, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01 และ CFI = 1.00) โดยองค์ประกอบด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.63-0.92 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) แนวทางการจัดการเรียนรู้จากโรงเรียนที่เข้าแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติเน้นไปที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรภูมิศาสตร์แบบเข้มโดยจัดเป็นค่ายภูมิศาสตร์โอลิมปิกและจัดเสริมความรู้นอกเวลาเรียน ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย ทุกโรงเรียนเน้นให้นักเรียนได้ฝึกฝนและใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์อย่างชำนาญซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญของการเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1322
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130039.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.