Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1309
Title: | A DEVELOPMENT OF NUMBERS AND OPERATIONS FOR STUDENTS WITH
MATHEMATICAL DIFFICULTIES IN PRATHOM SUKSA THREE THROUGH DIRECT
INSTRUCTION WITH AUGMENTED REALITY (AR) การพัฒนาความสามารถ เรื่อง จำนวนนับ สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีการสอนตรงร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสมือน |
Authors: | WILADA HOMCHAN วิลดา หอมจันทร์ Suthawan Harnkajornsuk สุธาวัลย์ หาญขจรสุข Srinakharinwirot University. Faculty of Education |
Keywords: | นักเรียนที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวนนับ ความสามารถ เรื่อง จำนวนนับ การสอนตรง เทคโนโลยีความจริงเสมือน Students with mathematical difficulties Numbers and operations Mathematical abilities Direct Instruction Augmented Reality (AR) |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research is to study and to compare mathematical abilities in terms of numbers and operations in Prathom Suksa Three students with mathematical difficulties and using direct instruction with augmented reality technology (AR). The target group for this research were three students who had difficulties in numeracy and counting and studied in the first semester of the 2020 academic year. The research instruments were as follows: (1) a cardinal numbers and mathematical problem survey; (2) mathematical lesson plans using direct methods with augmented reality technology (AR); (3) AR application installation and usage guide; (4) development of a book for numbers and operations through direct instruction; and (5) a numeracy counting test. The participants were taught four times a week (50 minutes each time), a duration of six weeks; and tested their mathematical abilities twice, with a total of 26 times. The statistics used for data analysis were mean, percentage, development score, efficiency of learning aids and presentations with graphs. The results revealed the following: (1) the numeracy counting skills of students with mathematical difficulties who participated in learning activities using the direct method combined with augmented reality (AR) technology were excellent (Mean = 88.89); (2) after the experiment, students with mathematical difficulties had higher scores than before the average development of students with improved individual development were 93.33, 83.33 and 90, respectively. The average development score was 8.33 and the effective index score was 0.7203; and (3) the efficiency of augmented reality (AR) on numeracy was 82/89. การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถ เรื่อง จำนวนนับ ของนักเรียน ที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนตรงร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) โดยสร้างและศึกษาประสิทธิภาพสื่อเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) เรื่อง จำนวนนับ ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม) จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับ (Cardinal Numbers) 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีสอนตรงร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) 3) แอปพลิเคชั่น AR และคู่มือการติดตั้งและการใช้แอปพลิเคชัน AR 4) หนังสือเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถ เรื่อง จำนวนนับ ด้วยวิธีสอนตรงร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสมือน (Augmented Reality : AR) 5) แบบทดสอบความสามารถ เรื่อง จำนวนนับ แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยใช้เวลาทดลองสัปดาห์ละ 4 ครั้งๆ ละ 50 นาที และทดสอบวัดความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 26 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ คะแนนพัฒนาการรายบุคคล ค่าประสิทธิภาพของสื่อ และการนำเสนอด้วยกราฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถเรื่อง จำนวนนับ ของนักเรียนที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนตรงร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 88.89) 2) หลังการทดลองนักเรียนที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์มีคะแนนความสามารถ เรื่อง จำนวนนับสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง นักเรียนมีพัฒนาการรายบุคคลดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 93.33, 83.33 และ 90 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการ เท่ากับ 8.33 ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของสื่อเฉลี่ย เท่ากับ 0.7203 นักเรียนมีความรู้หลังการสอนเพิ่มขึ้นทุกคนและ 3) ประสิทธิภาพสื่อเทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR) เรื่อง จำนวนนับเท่ากับ 82/89 |
Description: | MASTER OF EDUCATION (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1309 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601130160.pdf | 4.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.