Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1298
Title: TEST DEVELOPMENT OF ASSESSING MULTIDIMENSIONAL DIGITAL LITERACY FOR MATTHAYOMSUKSA ONE BY APPLYING CONSTRUCT MODELING
การพัฒนาแบบวัดการรู้ดิจิทัลแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์ใช้โมเดลเชิงโครงสร้าง
Authors: PIYATIDA LAOREIAM
ปิยธิดา ลออเอี่ยม
Manaathar Tulmethakaan
มนตา ตุลย์เมธาการ
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: การรู้ดิจิทัล
โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท
โมเดลเชิงโครงสร้าง
Digital Literacy
MRCML
Construct Modelling
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives were to provide a framework for digital literacy assessment, to construct and evaluate excellent digital literacy assessment and to create scoring criteria and the transition point. This study adopted a multi-stage sampling of a thousand seventh graders at one of the six secondary educational service area schools. The data applied Item Response Theory with MRCML. The research findings were as follows: (1) the digital literacy assessment framework involved three dimensions and five levels; and (2) the digital literacy assessment demonstrated adequate content validity of items and response processes. While the reliability relied on EAP, which had three dimensions of 0.89, 0.89, and 0.87, and at the acceptance criterion. Furthermore, the assessment showed difficulty indices ranging from -1.68 to -0.02, and which were regarded as moderate to good levels. The correlation coefficient amongst dimensions, which were 0.97, 0.96, and 0.94, respectively, and considered very high; (3) in terms of procedure, scoring could be separated into five levels, the cognitive domain had a transition point of -1.89, -0.38, 0.66, and 2.20, respectively; the technical domain at -2.28, -0.43, 0.74, and 1.97, respectively, and the emotional domain at -2.74, -0.96, 0.53, and 2.35, respectively.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบการประเมินการรู้ดิจิทัล เพื่อสร้างและวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดการรู้ดิจิทัล และเพื่อกำหนดจุดตัดระดับความสามารถการรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโรงเรียนในสังกัด สพม. เขต 6 จำนวน 1,000 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบวัดการรู้ดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบโดยใช้โมเดลพหุมิติสัมประสิทธิ์การสุ่มแบบโลจิท (MRCML) ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบการประเมินการรู้ดิจิทัลมี 3 มิติ ประกอบด้วย มิติทางพุทธิพิสัย 5 ระดับ มิติทางเทคนิค 5 ระดับ และมิติทางสังคมและอารมณ์ 5 ระดับ 2) แบบวัดการรู้ดิจิทัลมีค่าความเชื่อมั่นแบบ EAP ในมิติทางพุทธิพิสัย มิติทางเทคนิค และมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.89 0.89 และ 0.87 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แบบวัดมีค่าความยากตั้งแต่ -1.68 ถึง -0.02 ข้อสอบมีความเหมาะสมสำหรับโครงสร้างการวัด และมีความสัมพันธ์ตามโมเดล MRCML โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมิติทางพุทธิพิสัยกับมิติทางเทคนิค เท่ากับ 0.97 มิติทางพุทธิพิสัยกับมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.96 และมิติทางเทคนิคกับมิติทางสังคมและอารมณ์ เท่ากับ 0.94 ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับสูงมาก 3) การกำหนดจุดตัดระดับความสามารถการรู้ดิจิทัล ทั้ง 3 มิติ สามารถแบ่งได้ 5 ระดับ โดยมิติทางพุทธิพิสัยมีจุดตัดอยู่ที่ -1.89  -0.38 0.78 และ 2.20 ตามลำดับ มิติทางเทคนิคมีจุดตัดอยู่ที่ -2.28 -0.43 0.74 และ 1.97 ตามลำดับ และ มิติทางสังคมและอารมณ์มีจุดตัดอยู่ที่ -2.74 -0.96 0.53 และ 2.35 ตามลำดับ
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1298
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130128.pdf7.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.