Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/123
Title: STUDY OF MATHEMATICAL ANALYTICAL THINKING ABILITY AND LEARNING ACHIEVEMENT STATISTICS AMONG NINTH GRADE STUDENTS THROUGH THE INQUIRY CYCLE LEARNING MANAGEMENT
การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้
Authors: KANTAPORN KHAOPRAE
กันตพร ขาวแพร
Chommanad Cheausuwantavee
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สถิติ
วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้
การจัดการเรียนรู้
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Mathematics Analytical Thinking Ability
Learning Achievement
Statistics
Inquiry Cycle
Learning Management
Ninth Grade Students
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is to compare the mathematical analytical thinking ability and learning achievement in the statistics of ninth grade students through inquiry cycle learning management. The subjects of this study consisted of forty one students at Mabtaputpanpittayakarn School. They were randomly selected using cluster random sampling. The instruments included a lesson plan; statistics for Inquiry Cycle Learning Management, mathematical analytical thinking ability measurement and a mathematics test. The experiment lasted for sixteen periods. The One-Group Pretest-Posttest Design was used in the study. The data were statistically analyzed using mean, standard deviation and a t-test for dependent samples and a t-test for one sample. The results of this research were as follows: 1) the mathematical analytical thinking ability identified by the statistics of ninth grade students after the inquiry cycle learning management was statistically higher than before learning at a .05 level of significance; 2) the mathematical analytical thinking ability on statistics among ninth grade students after the inquiry cycle learning management was higher than the 70 percent criterion at a .05 level of significance. The mean score was 31.56 as 78.90%; 3) mathematical achievement in the statistics of ninth grade students after the inquiry cycle learning management was statistically higher than before learning at a .05 level of significance; 4) the learning achievement on statistics among ninth grade students after the inquiry cycle learning management was statistically higher than the 70 percent criterion at an .05 level of significance. The mean score was 14.90 as 74.50%.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร  จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 41 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สถิติ โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 16 คาบ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test for Dependence Sample และ t-test for One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 31.56 คิดเป็นร้อยละ 78.90 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 14.90 คิดเป็นร้อยละ 74.50
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/123
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130285.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.