Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1226
Title: THE FACTORS RELATED TO CONSTRUCTIVE COMMUNICATION IN SOCIAL MEDIA OF UNDERGRADUATE STUDENTS IN BANGKOK
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: RAVIPAN JARUTHAVEE
รวิพรรณ จารุทวี
Chanya Leesattrupai
ชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Keywords: การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
สื่อสังคมออนไลน์
ความร่วมรู้สึก
อิทธิพลจากตัวแบบ
การสนับสนุนทางสังคม
Constructive communication
Social media
Empathy
Modeling influences
Social support
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research is to study the level of constructive communication behaviors in social media; to study the relationships between the personal factors, i.e. attitude toward constructive communication in social media and empathy, and the social factors, i.e. modeling influences (friend models, family models, and social media people models) and social support related to constructive communication behaviors in social media; to predict constructive communication behaviors in social media through the personal factors and the social factors. The samples in this study were 360 undergraduate students from public autonomous universities and private universities in Bangkok. Questionnaires were used as means of data collection. Then the data were analyzed by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Enter Multiple Regression. The result of this research were as follows: (1) undergraduate students in Bangkok had the constructive communication behaviors in social media scale in high level; (2) the personal and social factors had a positive correlation with constructive communication behaviors in social media of undergraduate students in Bangkok with a statistical significance of .01; and (3) the personal and social factors were co-predictors of constructive communication behaviors in social media with a statistical significance of .01. The results revealed that the important predictors were attitude toward constructive communication in social media, empathy, family models and friend models.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ เจตคติที่มีต่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ และความร่วมรู้สึก และปัจจัยทางสังคม ซึ่งได้แก่ อิทธิพลจากตัวแบบ (ประกอบด้วย การได้รับตัวแบบจากเพื่อน การได้รับตัวแบบจากครอบครัว และการได้รับตัวแบบจากบุคคลในสื่อสังคมออนไลน์) และการสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และทำนายการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครมีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ทั้งนี้ ยังพบตัวแปรที่สำคัญ 4 ตัวแปร คือ เจตคติที่มีต่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์ ความร่วมรู้สึก การได้รับตัวแบบจากครอบครัว และการได้รับตัวแบบจากเพื่อน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1226
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110139.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.